วันอาทิตย์ที่ 7 ตุลาคม พ.ศ. 2561

การควบคุมคุณภาพ ครั้ง 15 ทบทวนและการนำเสนอรายงาน

การควบคุมคุณภาพ ครั้ง 15 ทบทวน

ทบทวนทบทวนการควบคุมคุณภาพ ครั้งที่ 9-10 เรื่องแผนภูมิควบคุม (Control Chart) 
แบบจำนวนนับรอยตำหนิ และทบทวนการควบคุมคุณภาพ ครั้งที่ 11-13 เรื่องการชักตัวอย่างเพื่อการยอมรับ 1-3

เนื้อหารายงานเรื่อง ISO กับ QC 7 Tool











 QC 7 Tool

9.1 เครื่องมือในการควบคุมคุณภาพ
      เครื่องมือที่ใช้ในการควบคุมคุณภาพเป็นวิธีการทางสถิติและแผนภูมิต่างๆ เพื่อช่วยในการ
วิเคราะห์ และแก้ไขปัญหาคุณภาพ เครื่องมือพื้นฐานในการควบคุมคุณภาพ 7 ชนิด (sevenbasicQualitycontrol tools) ได้แก่ (ASQ,The 7  quality toos”)
    1.แผนภูมิพาเรโต (pareto diagram)
       แผนภูมิพาเรโตเป็นเครื่องมือสำคัญในการวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพ แผนภูมินี้ประยุกต์จากหลัก80:20 (80:20 principle) ของวิสเฟรโด พาเราโต (Vilfredo Pareto) โดยระบุประมาณ 80% ของผลที่เกิดขึ้น ( effects) มาจากสาเหตุ (causes) ประมาณ 20 เปอร์เซ็นต์ดังนั้นปัญหาคุณภาพส่วนใหญ่จึงมาจากสาเหตุหลักๆเพียงไม่กี่ประการ ในการแก้ไขปัญหาคุณภาพให้นำสาเหตุหลักที่พบมากที่สุดมาแก้ไขก่อนหลังจากนั้นจึงแก้ไข สาเหตุที่พบรองลงไปตามลำดับ
       แผนภูมิพาเรโตเป็นกราฟแห่งแสดงความถี่ของข้อมูลเรียงตามลำดับจากมากไปน้อย
(Descending order) และจากซ้ายไปขวาส่วนใหญ่นิยมแสดงคู่กับกราฟเส้นความถี่สะสม (cumulativeLine) ตารางที่ 9.1 เป็นตัวอย่างสาเหตุของปัญหาคุณภาพซึ่งนำมาสร้างเป็นแผนภูมิพาเรโตในภาพที่ 9.1สาเหตุที่พบมากที่สุดคือวัตถุดิบ จึงต้องแก้ไขเรื่องนี้ก่อนเป็นอันดับแรกหลังจากนั้น จึงแก้ไขเรื่องการประกอบสินค้าและเครื่องจักรตามลำดับ สาเหตุทั้ง 3 ประการทำให้เกิดปัญหาคุณภาพรวมกัน 87.80%



2.ผังงาน (flowchart)
        ผังงานหรือแผนภูมิการไหลของกระบวนการ (Process Flow Diagram: PFD) แสดงลำดับ
ขั้นตอนของกระบวนการโดยใช้สัญลักษณ์มาตรฐานซึ่งแสดงถึงกิจกรรมต่างๆ ที่สัมพันธ์กัน ผังงานใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาและการปรับปรุงคุณภาพ ทำให้สามารถพิจารณากระบวนการโดยรวมและระบุขั้นตอนที่มีปัญหาหรือกิจกรรมที่ต้องการปรับปรุงได้ชัดเจนเพื่อวิเคราะห์สาเหตุและแก้ไขข ( ภาพที่9.2)นอกจากนั้น ผังงานยังใช้ในการปรับปรุงกระบวนการเพื่อพิจารณาการลดขั้นตอนต่างๆที่ไม่จำเป็น


    3.เอกสารการตรวจสอบ (check sheet)
เอกสารการตรวจสอบเป็นการบันทึกจำนวนและประเภทของความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจาก
กิจกรรมต่างๆเพื่อใช้ในการจัดทำรายงานและวิเคราะห์ปัญหาคุณภาพ เอกสารนี้ช่วยให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ควบคุมงานบันทึกข้อมูลได้อย่างถูกต้องและถี่ถ้วน ข้อมูลสำคัญในเอกสารการตรวจสอบ เช่น เลขที่งาน ชื่อผู้ตรวจสอบ วัน เวลา สถานที่ตรวจสอบ สิ่งที่พบจากการตรวจสอบ ฯลฯ ตารางที่ 9.2 เป็นตัวอย่างเอกสารการตรวจสอบคุณภาพสินค้าของโรงงานแห่งหนึ่ง โดยพบว่าความผิดพลาดที่เกิดจากวัตถุดิบเสื่อมคุณภาพเกิดขึ้นทุกวันและพบมากที่สุด ผู้บริหารจึงควรเร่งแก้ไขเรื่องการจัดการวัสดุ
ตารางที่ 9.2 เอกสารการตรวจสอบ


4. ฮิสโตแกรม( Histogram)
         ฮิสโตแกรมกลกามแห่งซึ่งแสดงความถี่ของข้อมูลซึ่งใช้ในการพิจารณาตัวชี้วัดด้าคุณภาพ เช่นปริมาณสินค้าบกพร่อง ผลการปฏิบัติงาน ความผันแปรของกระบวนการ ฯลฯ ภาพที่9.3เป็นตัวอย่างฮิสโตแกรมแสดงจำนวนความล่าช้าในการขนส่งสินค้าต่อเดือน จากรูปภาพพบว่าความรักหาจำนวน 3-4ครั้งต่อเดือนนี้ความถี่สูงสุด ข้อมูลนี้ควรนำไปเปรียบเทียบกับมาตรฐานขององค์กรและค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรม


5. แผนภูมิการกระจาย (scatter diagram
แผนภูมิการกระจายแสดงความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปร 2 ตัว ใช้ในการพิจารณารูปแบบความสัมพันธ์ของตัวแปรด้านคุณภาพในกระบวนการต่างๆ ภาพที่ 9.4 เป็นตัวอย่างแผนภูมิการกระจายระหว่างปริมาณสินค้าบกพร่อง (X) กับระดับการเพิ่มผลผลิต (Y) ซึ่งแสดงว่าตัวแปรทั้งสองมีความสัมพันธ์กันสูง (R = 0.927) แต่เป็นความสัมพันธ์เชิงเส้นตรงที่เป็นลบ (negative linear trend) กล่าวคือ ปริมาณสินค้าบกพร่องที่สูงขึ้นทำให้ระดับการเพิ่มผลผลิตลดลง



6 แผนภูมิเหตุและผล (Cause-and-effect diagram)
แผนภูมิเหตุและผลหรือแผนภูมิอิชิกาวา (lshikawa diagram) ใช้ในการวิเคราะห์ปัญหาต่างๆ
ซึ่งพัฒนาโดยคาโอรุ อิชิคาวา (Kaoru lshikawa) ส่วนใหญ่นิยมเรียกว่าผังก้างปลา (fishbone diagram)โดยหัวปลาแสดงถึงสิ่งที่ต้องการวิเคราะห์ เช่น ปัญหา สิ่งที่ต้องการปรับปรุง และผลลัพธ์ที่เกิดขึ้น ฯลฯส่วนก้างปลาแสดงถึงสาเหตุของปัญหา  กลางใหญ่แสดงถึงสาเหตุหลักและก้างเล็กแสดงถึงสาเหตุลองโดยทั่วไป ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากสาเหตุหลัก 6 ประการ (5M + 1E) (ASQ, Fishbone diagram”) ดังในภาพที่ 9.5
1. บุคลากร (Man) หมายถึง ทรัพยากรที่ปฏิบัติงานในองค์กร
2. วิธีการ (Methods) วิธีการทำงานของกระบวนการ รวมถึงกฎ ระเบียบ และวิธีปฏิบัติ
3. วัสดุ (Materials) เช่น วัตถุดิบ ชิ้นส่วน ส่วนประกอบต่างๆ ฯลฯ
4. เครื่องจักร (Machines) เช่น เทคโนโลยี เครื่องมือ อุปกรณ์ในการผลิต ฯลฯ
5. การวัด (Measurements) ด้านต่างๆ เช่น คุณลักษณะผลิตภัณฑ์ ความผันแปร ฯลฯ
6. สภาพแวดล้อม (Environment) สภาพแวดล้อมซึ่งส่งผลต่อการผลิต สินค้าหรือบริการ เช่น
ความร้อน ความชื้น ฝุ่นละออง ฯลฯ

ภาพที่ 9.5 แผนภูมิเหตุและผล
แผนภูมิเหตุและผลเป็นเครื่องมือควบคุมคุณภาพประเภทเดียวซึ่งไม่ต้องใช้วิธีการทางสถิติและ
สามารถนำไปประยุกต์ได้กับการวิเคราะห์ปัญหาทั่วไป การนำแผนภูมิเหตุและผลไปใช้ในการวิเคราะห์
ปัญหาคุณภาพทำให้เกิดประโยชน์หลายประการ เช่น การผลิตที่ไม่ตรงตามข้อกำหนดลดลง ต้นทุนการ
ผลิตลดลง การปรับปรุงคุณภาพเพิ่มขึ้น ประสิทธิภาพของการใช้ทรัพยากรสูงขึ้น การผลิตมีความเป็น
มาตรฐานเพิ่มขึ้น และความพึงพอใจของลูกค้าสูงขึ้น ฯลฯ




  7. ผังควบคุม (control chart)
ผังควบคุมเป็นเครื่องมือสำคัญในการควบคุมกระบวนการเชิงสถิติ (statistical process
Control: SPC) ใช้ในการตรวจสอบกระบวนการผลิตเพื่อพิจารณาความผันแปรที่เกิดขึ้น ภาพที่ 9.6
แสดงผังควบคุมซึ่งประกอบด้วยเส้นศูนย์กลาง (center line: CL) ขีดจำกัดบน (Upper control Limit:
UCL) และขีดจำกัดล่าง (Lower control Limit: LCL)


ในการควบคุมกระบวนการสามารถใช้ผังการดำเนินกิจกรรม (run chart) ได้เช่นกัน หนังประเภท
นี้มีลักษณะคล้ายผังควบคุม ใช้ในการวิเคราะห์ความสามารถของกระบวนการหรือเครื่องจักรในการผลิต
ตามข้อกำหนดในแต่ละช่วงเวลา โดยกำหนดให้แกน x เป็นเวลา (time) และไม่มีการกำหนดเส้น
ศูนย์กลาง รวมทั้งขีดจำกัดบนและขีดจำกัดล่าง ภาพที่ 9.7 แสดงตัวอย่างผังการดำเนินกิจกรรมของ
ชั่งน้ำหนักสินค้าในแต่ละวัน
ภาพที่ 9.7 ผังการดำเนินกิจกรรม







แผนภูมิควบคุม (Control Chart) 
แบบจำนวนนับรอยตำหนิ















































ทบทวนการควบคุมคุณภาพ ครั้งที่ 11-13 

เรื่องการชักตัวอย่างเพื่อการยอมรับ 1

            เทคนิคการตรวจสอบพิจารณาได้จากตารางที่ 1ซึ่งเป็น

เครื่องมือตรวจสอบ (auditing tool) เพื่อตัดสินใจว่าจะ

ปฏิเสธหรือยอมรับวัตถุดิบ ที่จะนำเข้าสู่กระบวนการผลิตหรือ

เพื่อการตัดสินใจส่งให้ลูกค้า มิใช่เพื่อการสร้างหรือควบคุม

คุณภาพผลิตภัณฑ์ หรือประมาณคุณภาพระดับสินค้าเนื่องจาก

การควบคุมคุณภาพเป็นหน้าที่ของแผนภูมิควบคุม














































การควบคุมคุณภาพครั้งที่ 12 เรื่องการสุ่มตัวอย่างเพื่อการยอมรับ 2

 -ทบทวนให้ตอบคำถาม โดยทบทวนจากเอกสารเพิ่มเติมจากมาตรฐานอุตสาหกรรม มอก.465/2554







































































































































การควบคุมคุณภาพครั้งที่ 14 เรื่องการสุ่มตัวอย่างแบบคัดกรองทุกชิ้น










































การบ้าน QC 15

จงเขียนสรุปทบทวน QC 9-14 ข้างบน ใส่ในกระดาษ A4 และให้นำเข้าห้องสอบพร้อมตารางปัวซองและตาราง ม.อ.ก.465 ได้ แต่ต้องเย็บเป็นเล่ม เมื่อสอบเสร็จให้ส่งพร้อมข้อสอบปลายภาคเป็นคะแนนการบ้านต่อไป



ไม่มีความคิดเห็น: