การเตรียมพร้อมก่อนเรียน
หัวข้อการเขียนแบบเบื้องต้น
เรื่องมาตรฐานการเขียนแบบ
และภาพสเก็ต
1.เครื่องมือและอุปกรณ์
1.1 โต๊ะเขียนแบบ
1.2 กระดาษเขียนแบบ
1.3 ไม้ที
1.4 บรรทัดสามเหลี่ยม
1.5 บรรทัดมาตราส่วน
1.6 บรรทัดเขียนส่วนโค้ง
1.7 แผ่นแบบ
1.8 วงเวียน
1.9 วงเวียนวัดระยะ
1.10 ปากกาเขียนแบบ
1.11 เครื่องเหลาดินสอ
1.12 เครื่องมือทำความสะอาด
1.13 ยางลบ
1. เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ
การปฏิบัติการเขียนแบบ ที่จะได้แบบงานที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐาน จะต้องอาศัย ทักษะของผู้ปฏบัติการเขียนแบบรวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจียนแบบมีความสำคัญมากและได้คุณภาพงานที่เป็นมาตรฐานเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบมีดังนี้
1.5 บรรทัดมาตราส่วน (SCALE)
1.8 วงเวียน (COMPASS)
1.83 วงเวียนคาน (BEAM COMPASS) เป็นวงเวียนที่ออกแบบสำหรับใช้เขียนวงกลมขนาดใาหญ่ซึ่งไม่สามารถเขียนด้วยวงเวียนธรรมดาได้
กระดาษไข ปากกาเขียนแบบประกอบด้วยหลอด และปลายเข็มใช้สำหรับเขียนเส้นที่มีขนาดความหนาของเส้นจะเพิ่มขึ้นตามอนุกรมก้าวหน้าเรขาคณิตคูณด้วย กระดาษไข ปากกาเขียนแบบประกอบด้วยหลอด และปลายเข็มใช้สำหรับเขียนเส้นที่มีขนาดความหนาของเส้นจะเพิ่มขึ้นตามอนุกรมก้าวหน้าเรขาคณิตคูณด้วย
1.12 เครื่องเหลาดินสอ (PENCIL SARPENERS) เครื่องเหลาดินสอเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้ในงานเขียนแบบ เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานโดยเครื่องเหลาจะเหลาปอกเฉพาะเปลือกไม้ออกโดยจะปล่อยไส้ดินสอเปลือยไว้เพื่อสามารถนำไปทำการเหลาเป็นรูปร่างตามต้องการ
กันลบ เป็นต้น กันลบ เป็นต้น ภาพที่ 1.25 แปรงปัดเศษยางลบและอุปกรณ์ทำความสะอาด
1.13 ยางลบ
(1 : 1.141) ดังแสดงในภาพที่ 2.1
มาตราส่วน
ขนาดงานจริง
|
ขนาดที่เขียนลงในแบบงาน
| ||||||
1 :1
|
2 :1
|
5 :1
|
10 :1
|
1 :2
|
1 :5
|
1 :10
| |
10
|
10
|
20
|
50
|
100
|
5
|
2
|
1
|
20
|
20
|
40
|
100
|
200
|
10
|
4
|
2
|
30
|
30
|
60
|
150
|
300
|
15
|
6
|
3
|
ภาพที่ 4.18 แสดงการเขียนสัญลักษณ์บอกรูปร่างชิ้นงานหน้าตัดวงกลม
|
ภาพที่ 4.19 แสดงการกำหนดขนาดชิ้นงานที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยม
|
ภาพที่ 4.20 แสดงการกำหนดขนาดชิ้นงานที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม
|
ภาพที่ 4.32 เปรียบเทียบขนาดของวัตถุที่ใช้ในการเขียนแบบและขนาดจริงของวัตถุ
|
ความหมายของการสเกตภาพ
การสเกตภาพ หมายถึง การเขียนภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเขียนแบบช่วย จะเขียนภาพโดยใช้มือเปล่า (FREE HAND) โดยการลากเส้นขึ้นเป็นชิ้นงานอย่างหยาบ ๆ จากความคิดหรือจินตนาการของวิศวกรผู้ออกแบบ เพื่อนำไปใช้เขียนแบบที่มีรายละเอียดต่าง ๆ สมบูรณ์ตามมาตรฐานต่อไป
ดินสอที่ใช้ในการสเกตภาพนั้นควรใช้เกรด HB หรือ F โดยจับดินสอให้ห่างจากปลายดินสอประมาณ 30-40 มิลลิเมตรขณะที่ลากเส้นสเกตภาพควรหมุนดินสอตามไปด้วย เพื่อทำให้ปลายดินสอแหลมอยู่เสมอ ทำให้เส้นที่ลาดคม ชัดเจน นำหนักของเส้นที่ใช้ในการลากเส้น ในการสเกตภาพมี 2 ระดับคือ
เส้นหนัก ใช้เขียนเส้นรอบรูป เส้นประ เส้นแนวตัด
เส้นเบา ใช้เขียนเส้นศูนย์กลาง เส้นบอกขนาด เส้นช่วยบอกขนาด
ลักษณะการจับดินสอในการสเกตภาพ
การลากเส้นในการสเกตภาพ
สำหรับผู้ที่มีความชำนาญอาจจะใช้กระดาษธรรมดาทำการสเกตรูปงาน ส่วนที่ยังไม่มีความชำนาญควรทำการสเกตภาพลงบนกระดาษ สำหรับใช้ในงานสเกตภาพ โดยเฉพาะจะทำให้การลากเส้นต่าง ๆ ของงาน และสัดส่วนของภาพถูกต้อง โดยกระดาษสำหรับใช้งานสเกตภาพจะพิมพ์เป็นตาราง ซึ่งจะทำให้การสเกตภาพสะดวกขึ้น
การลากเส้นตรง
การลากเส้นตรงสำหรับการสเกตภาพ เป็นการลากเส้นโดยใช้ความชำนาญของผู้ปฏิบัติงาน จึงควรปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ เส้นตรงที่ใช้ในงานสเกตภาพมีหลายลักษณะดังนี้
เส้นตรงในแนวนอน การลากเส้นตรงในแนวนอน ควรต้องกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย แล้วจึงลากเส้นจากทางซ้ายมือไปทางขวามือ ถ้าต้องการลากเส้นที่มีความยาวมากควรลากเส้นสั้น ๆ ต่อ ๆ กันจะง่ายกว่าการลากเส้นยาว
เส้นตรงแนวดิ่ง การลากเส้นตรงแนวดิ่ง ควรลากเส้นจากบนลงมาล่าง โดยใช้นิ้วแตะขอบกระดานสเกตจะช่วยทำให้ลากเส้นแนวดิ่งมีความตรงมากขึ้น
เส้นตรงแนวเฉียง การลากเส้นตรงแนวเฉียงมีวิธีการลากเส้นเช่นเดียวกับการลากเส้นตรงแนวนอน ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายแล้วจึงลากเส้นตรงแนวเฉียง เริ่มจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบนได้ทั้ง 2 วิธี
การลากเส้นโค้งหรือวงกลม
การลากเส้นโค้งหรือกลม นับว่าเป็นการเขียนที่ยากมาก ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกหัดและเขียนอยู่อย่างสม่ำเสมอ จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ และปฏิบัติได้โดยไม่ยากนัก การลากเส้นโค้งหรือวงกลมสามารถทำได้หลายวิธี
การสเกตวงกลมวิธีที่ 1 โดยเขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส หาจุดกึ่งกลางของด้านที่วงกลมสัมผัส ลากเส้นทแยงมุม กำหนดจุดประมาณที่เส้นรอบวงจะผ่านบนเส้นทแยงมุม จากนั้นเขียนส่วนโค้งผ่านจุดที่กำหนด จะเกิดเป็นรูปวงกลม
การสเกตภาพวงกลมจากรูปสี่เหลี่ยม
การสเกตวงกลมวิธีที่ 2 โดยการลากเส้นผ่าศูนย์กลาง แล้วกำหนดจุดประมาณที่เส้นรอบวงของวงกลมจะผ่าน เขียนส่วนโค้งผ่านจุดที่กำหนดจะเกิดเป็นรูปวงกลม
การสเกตภาพวงกลมจากเส้นผ่าศูนย์กลาง
การสเกตวงกลมวิธีที่ 3 โดยการใช้กระดาษวัดระยะรัศมีที่ต้องการเขียนบนกระดาษแล้วนำไปทาบบนกระดาษสเกต โดยให้ด้านหนึ่งอยู่ที่จุดศูนย์กลาง อีกด้านอยู่ที่เส้นรอบวงหมุนกระดาษไปแล้วทำจุดเส้นประไปจนครบวงกลม แล้วจึงลงเส้นหนักตามแนวเส้นประ จะเกิดเป็นรูปวงกลม
การสเกตภาพวงกลมโดยใช้กระดาษ
การสเกตวงกลมวิธีที่ 4 โดยหาหมุนกระดาษสเกต ทำได้โดยใช้ปลายนิ้วก้อยจรดที่จุดศูนย์กลาง แล้วใช้มืออีกข้างหมุนกระดาษสเกตไปเรื่อย ๆ จนได้รูปวงกลมตามต้องการ
การสเกตภาพวงกลมโดยการหมุนกระดาษ
การสเกตวงกลมโดยใช้ดินสอ การสเกตวงกลมวิธีนี้จะใช้ดินสอ 2 แท่ง โดยให้ดินสอจรดที่จุดศูนย์กลาง ดินสออีกแท่งกำหนดที่ขีดเส้นรอบวงของวงกลมแล้วหมุนกระดาษไปเรื่อย ๆ จะเกิดเป็นรูปวงกลม
การสเกตภาพวงกลมโดยใช้ดินสอสองแท่ง
สเกตวงกลมขนาดใหญ่ โดยใช้นิ้วมือเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม เช่นเดียวกับวงเวียนเขียนแบบ
การสเกตวงรี
การสร้างวงรีโดยเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ให้มีขนาดความกว้าง ความยาว เท่ากับขนาดของวงรีที่ต้องการ แบ่งครึ่งที่ด้านทั้งสี่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จุดกึ่งกลางของเส้น แล้วลากเส้นโค้งให้ต่อกันเป็นวงรี
การสเกตวงรี
การสเกตภาพสามมิติ
การสเกตภาพสามมิติ มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดข้อมูลจากความคิดหรือจินตนาการของวิศวกรผู้ออกแบบให้เป็นภาพสามมิติ เพื่อให้ช่างเขียนแบบสามารถเห็นรูปร่างของงานได้ทั้ง ความกว้าง ความยาว และความหนา การสเกตภาพสามมิตินี้สามารถทำได้ทั้งแบบไอโซเมตริกและแบบออบลิค ขึ้นอยู่กับลักษณะการวางชิ้นงาน
การสเกตภาพออบลิคจากภาพสามมิติ
1. สเกตภาพด้านหน้าตามที่กำหนด
2. สเกตภาพตามความลึกของชิ้นงานทำมุม 45 องศา กับแนวนอน
3. ลบเส้นร่างที่ไม่ใช้ออกจากรูปงาน
4. ลงเส้นเต็มหนักที่เส้นขอบรูป
แสดงลำดับภาพการสเกตภาพออบลิค
การสเกตออบลิคจากภาพฉาย
1. เขียนรูปกล่องสี่เหลี่ยมตามหลักการเขียนภาพ OBLIQUE โดยมีขนาดกำหนด
2. สเกตรายละเอียดต่าง ๆ ตามภาพฉาย
3. ลบเส้นที่ร่างออก แล้วลงเส้นเต็มหนักของขอบชิ้นงาน
แสดงลำดับเส้นการสเกตภาพ OBIQUE จากภาพฉาย
การสเกตภาพไอโซเมตริกจากภาพสามมิติ
1. เขียนรูปกล่องสี่เหลี่ยมโดยวางภาพลักษณะไอโซเมตริก
2. แบ่งระยะเขียนรายละเอียดของภาพให้ครบตามแบบงานที่กำหนด
3. ลบเส้นที่ไม่ใช้ออกจากแบบรูปงาน
4. ลงเส้นเต็มหนักที่เส้นขอบงาน
แสดงลำดับขั้นตอนสเกตภาพจากภาพสามมิติ
การสเกตภาพไอโซเมตริกจากภาพฉาย
1. เขียนรูปกล่องสี่เหลี่ยมมีขนาดกรอบนอกของรูปตามภาพฉาย โดยวางแกนภาพตามหลัก ISOMETRIC
2. สเกตผิวหน้างานด้านต่าง ๆ ตามรายละเอียดในภาพฉาย
3. ลบเส้นที่ไม่ใช้ออกจากรูปงาน
4. ลงเส้นเต็มหนักที่เส้นขอบงาน
แสดงลำดับขั้นการสเกตภาพจากภาพฉาย
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น