วันอังคารที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2565

ตอน ๑ และ ๒ การบริหารการผลิตและอุตสาหกรรม

 

การบริหารงานอุตสาหกรรม ๒/๒๕๖๕ 

ตอน ๑ และ ๒ การบริหารการผลิตและอุตสาหกรรม

ให้นักศึกษาทบทวนเรื่องที่เรียนในห้องโดยดูคลิปด้านล่างและอ่านสไลน์ประกอบจากนั้นให้ตอบคำถาม  ในแบบสอบถามหลังเรียน  ตามลิ้งด้านล่างนี้



โดยดูคลิปและสไลน์ด้านล่างประกอบการตอบคำถามในแบบสอบถาม(เวลาทำจนถึงเวลา24.00น)



เนื่องการขอเปิดวิชาล่าช้าจึงขอร่วมการสอนสัปดาห์แรกกับ สัปดาห์ที่ ๒ ไว้ด้วยกันดังนี้






























































































แรงกระทบทั้ง ในการทำธุรกิจ (Five Forces Model)

      สภาวะแวดล้อมในการดำเนินธุรกิจ ถือเป็นสิ่งสำคัญที่ต้องนำมาพิจารณาใน

การวางแผนกลยุทธ์ของบริษัท การวางแผนกลยุทธ์จะไม่ประสบความสำเร็จ 

หากปราศจากการวิเคราะห์ สภาวะแวดล้อม ความรุนแรงของการแข่งขัน และ

อุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย การวิเคราะห์แรงกระทบทั้ง จะช่วยให้เข้าใจ

ถึงโครงสร้าง แนวโน้มหลัก และแรงกระทำต่างๆ ที่จะมีผลกระทบต่อความสามารถ

ในการทำกำไรในอุตสาหกรรมหรือตลาดเป้าหมาย ช่วยให้ทราบถึงจุดแข็งและจุดอ่อน

ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและคู่แข่ง เห็นภาพแนวโน้มและภัยคุกคามในอุตสาหกรรม 

และทราบว่าอุตสาหกรรมกำลังจะโตขึ้นหรือถดถอยลง

       แรงกระทบทั้ง ที่กล่าวถึงคือ


       แรงกระทบทั้ง ที่กล่าวถึงคือ
1. อำนาจต่อรองจากผู้ขายวัตถุดิบหรือซัพพลายเออร์ 
    - จำนวนผู้ขายหรือวัตถุดิบที่มีอยู่ ถ้ามีผู้ขายน้อยราย อำนาจต่อรองของผู้ขายจะสูง 
มีอิทธิพลเหนือผู้ซื้อทั้งในด้าน ราคา คุณภาพและเงื่อนไขการซื้อขายอื่นๆ
    - ระดับการรวมตัวกันของผู้ขายวัตถุดิบ ถ้าผู้ขายรวมตัวกันได้อำนาจการต่อรองก็จะสูง
    - จำนวนวัตถุดิบหรือแหล่งวัตถุดิบที่มี ถ้าวัตถุดิบมีน้อย อำนาจต่อรองจะสูง
    - ความแตกต่างและเหมือนกันของวัตถุดิบ ถ้าวัตถุดิบมีความแตกต่างกันมาก 
อำนาจต่อรองผู้ขายจะสูง
2. อำนาจต่อรองจากผู้ซื้อสินค้า 
    - ปริมาณการซื้อ ถ้าผู้ซื้อทำการสั่งซื้อในปริมาณที่มาก ย่อมมีอำนาจการต่อรองสูง
    - ข้อมูลต่างๆที่ลูกค้าได้รับเกี่ยวกับสินค้าและผู้ขาย ถ้าลูกค้ามีข้อมูลมาก ก็ต่อรองได้มาก
    - ความจงรักภักดีต่อยี่ห้อ
    - ความยากง่ายในการรวมตัวกันของกลุ่มผู้ซื้อ ถ้าลูกค้ารวมตัวกันง่ายก็มีอำนาจต่อรองสูง
    - ความสามารถของผู้ซื้อที่จะมีการรวมกิจการไปด้านหลัง (Backward Integration) คือ ถ้า
ลูกค้าสามารถผลิตสินค้าได้ด้วยตนเอง อำนาจการต่อรองก็จะสูง
    - ต้นทุนในการเปลี่ยนไปใช้สินค้าของคนอื่น (Switching Costs) หรือ ใช้สินค้าของคู่แข่ง
แล้วลูกค้าต้องมีต้นทุนในการเปลี่ยนสูง อำนาจการต่อรองของลูกค้าก็จะต่ำ

 
3. ข้อจำกัดการเข้าสู่อุตสาหกรรมของผู้แข่งขันรายใหม่ 
    เงินลงทุน (Capital requirements) ถ้าต้องลงทุนสูง ก็จะเป็นอุปสรรคต่อรายใหม่ และ
หากเป็นธุรกิจที่ต้องใช้เงินลงทุนสูงก็อาจทำ ให้ผู้ที่จะเข้ามาแข่งขันรายใหม่ไม่กล้าตัดสินใจ
เข้ามาลงทุน เพราะต้องเสี่ยงต่อการดำเนินงานที่ไม่คุ้มทุนหรือขาดทุน
    - การประหยัดเนื่องจากขนาด (Economics of Scale) เนื่องจากผู้ที่เข้ามาทำธุรกิจใหม่ต้อง
พบแรงกดดัน ในเรื่องของการประหยัดต้นทุนการผลิต ในปริมาณที่มากเพื่อสามารถแข่งขัน
กับคู่แข่งรายเดิมที่มีความได้เปรียบทุกด้าน
    - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงไปใช้สินค้าอื่น (Switching cost) การนำเสนอ
สินค้าให้กับลูกค้าโดยที่ต้องแข่งขันกับผู้ผลิตรายเดิมที่มีอยู่ เนื่องจากลูกค้าไม่ต้องการที่จะ
หันไปใช้สินค้าอื่นที่ไม่คุ้นเคยหรือไม่ต้องการเสียเงินเพื่อการปรับเปลื่ยนกระบวนการบาง
อย่างอันเนื่องมาจากสินค้าที่ผลิตใหม่มีลักษณะการใช้งานไม่เหมือนกัน ทำให้ลูกค้าไม่สนใจ
ที่จะปรับเปลี่ยนมาใช้สินค้าตัวใหม่ทำให้ธุรกิจรายใหม่อาจจะต้องใช้เงินลงทุนมากกว่าเดิม
ในการชักจูงให้ลูกค้าหันมาซื้อสินค้าของตนเอง
    - การเข้าถึงช่องทางการจำหน่าย (Access to Distribution Channels) คู่แข่งรายใหม่จะต้อง
ใช้ความ พยายามที่จะเข้าไปแทรกแซงช่องทางการจัดจำหน่ายโดยชักจูงหรือให้ข้อเสนอที่
ดีกว่าเพื่อให้พ่อค้าส่ง
    - นโยบายของรัฐบาล ถ้ารัฐบาลไม่มีนโยบายส่งเสริม หรือมีข้อห้ามสัมปทาน เช่นในไทย
ตัวอย่างที่ชัดเจนคือ สัมปทานคลื่นความถี่โทรศัพท์เคลื่อนที่และทีวีดิจิตอล เป็นต้น
    - ความเสียเปรียบด้านต้นทุน (Cost Disadvantages) ในการดำเนินงาน ธุรกิจใหม่อาจมีต้นทุน
การดำเนินงานที่สูง เช่นการลงทุนด้านการวิจัยหรือความรู้ต่างๆ รวมทั้งประสบการณ์ทางด้าน
การทำงานและการดำเนินงานสายงานธุรกิจนั้นๆ ซึ่งมีปัจจัยนี้มากก็จะยิ่งเป็นผลดีกับผู้ประกอบ
การรายเดิม

4. แรงผลักดันจากสินค้าอื่นๆซึ่งสามารถใช้ทดแทนกันได้
    - ระดับการทดแทน เป็นการทดแทนได้มาก หรือทดแทนได้น้อยแค่ไหน เช่น เครื่องปรับ
อากาศกับพัดลม
    - ต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายในการเปลี่ยนแปลงการใช้สินค้าปัจจุบัน ไปสู่การใช้สินค้าทดแทน
    - ระดับราคาสินค้าทดแทนและคุณสมบัติใช้งานของสินค้าทดแทน

5. การแข่งขันระหว่างคู่แข่งในอุตสาหกรรมเดียวกัน 
    - จำนวนคู่แข่งขันในอุตสาหกรรม หากมีจำนวนมากหรือมีขีดความสามารถที่พอๆกัน
ย่อมส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรง แต่อาจมีบางกรณีที่แม้จะมีจำนวนผู้ประกอบการน้อยราย
 และแต่ละรายมีสัดส่วนการครองตลาดใกล้เคียงกันก็อาจส่งผลให้มีการแข่งขันที่รุนแรงได้
เช่นกัน
    - กำลังการผลิตส่วนเกิน หากอุตสาหกรรมใดมีการใช้ต้นทุนคงที่สูงจะมีความจำเป็นต้องคง
ขนาดของการใช้อัตรากำลังการผลิตไว้สูงอยู่ตลอดเวลา เพื่อให้ต้นทุนต่อหน่วยคุ้มค่าที่จะเดิน
สายพานการผลิต เมื่อความต้องการ (Demand) ลดแต่ผู้ประกอบการไม่สามารถลดระดับการ
ผลิตลงมาได้อาจทำให้เกินภาวะ Over Supply
    - อัตราการเติบโตของอุตสาหกรรม ถ้าอุตสาหกรรมยังคงเติบโต การแข่งขันจะไม่รุนแรงมาก
นัก ยิ่งอุตสาหกรรมมีการเติบโตในอัตราที่สูงก็ยิ่งสามารถดูดซับ เอาการแข่งขันที่รุนแรงไปได้
เท่านั้น
    - ความผูกพันในตรายี่ห้อ (Brand Loyalty) ความแตกต่างของสินค้าและบริการ ยิ่งสินค้าที่
มีความแตกต่างกันมาก การแข่งขันจะน้อยลง ทำให้เกิดตวามผู้กันในตรายี่ห้อนั้นๆ

โดยปกติถ้าแรงกระทบทั้ง มีค่าต่ำ แสดงว่าอุตสาหกรรมนั้นน่าสนใจลงทุน ในทางกลับกัน

 ถ้าแรงทั้ง มีค่าสูง แสดงว่าอุตสาหกรรมนั้นมีการแข่งขันสูง มีความเสี่ยงสูงไม่น่าลงทุ





































 การบ้าน IM1

จงศึกษาข้อมูลของบริษัท/ผลิตภัณฑ์ที่ท่านจะทำรายงานที่ท่านเลือกจะทำรายงานในหัวข้อต่อไปนี้
1. ประวัติบริษัท
2.วิสัยทัศน์ นโยบาย และเป้าหมาย
3.วิเคราะห์กระบวนการผลิต
4.วิเคราะห์ SWOT
(ส่งในNote ที่ ไลน์กลุ่มก่อนการเรียนครั้งที่3

ตัวอย่างการวิเคราะห์

กรณีศึกษา SWOT บริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด
โดยนศ.ชุติภาส ชนะจิตต์.
ประวัติความเป็นมา
พระยาภิรมย์ภักดี ก่อตั้งบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด ขึ้นในปีพุทธศักราช 2476 เป็นโรงเบียร์แห่งแรกในประเทศไทยที่พัฒนาและปรับปรุงประสิทธิภาพ อยู่เสมอ จนได้ชื่อว่าเป็นโรงเบียร์ที่มีศักยภาพในการผลิตสูงที่สุดคือ พันล้าน ลิตรต่อปี และเป็นโรงเบียร์ที่ใช้เครื่องมือเครื่องจักรที่ทันสมัยที่สุดเพื่อผลิต สินค้าคุณภาพภายใต้เครื่องหมายการค้า "สิงห์" "ลีโอ" และ "มิดไวด้า"
บริษัทฯ กระจายกำลังการผลิตไปทั่วราชอาณาจักร ด้วยการสร้างโรงเบียร์ แห่ง และโรงงานผลิตโซดา น้ำดื่ม อีก แห่ง ความสามารถในการผลิตเบียร์ ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะตัวผนึกกับเครือข่ายการจัด จำหน่ายที่รองรับตลาดอย่างทั่วถึงทำให้บุญรอด ยืนผงาดอยู่ในแนวหน้าของผู้ผลิตเบียร์ตราบจนทุกวันนี้ ยิ่งบริษัทฯ ได้รับเกียรติบัตร ISO 9002 รับรองมาตรฐานการผลิต ยิ่งทำให้ผู้บริโภค มั่นใจในสินค้าของบุญรอดฯ เมื่อเห็นว่าตลาดโลกมีความต้องการสินค้าคุณภาพของบุญรอด บริษัทฯ จึงเสริมกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นในประเทศเยอรมันด้วย โรงเบียร์อีก แห่ง และร่วมทุนทำโรงเบียร์ในประเทศจีนอีก แห่ง
ขณะเดียวกัน บุญรอดมีความสำนึกและภาคภูมิใจในความเป็นไทยตลอดมา จึงเน้นที่จะส่งเสริมกิจกรรมทางสังคมที่เป็นการอนุรักษ์วัฒนธรรมประเพณีไทยเป็นหลัก นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมที่มีคุณค่าทุกประเภท เพื่อเป็นการตอบแทนสังคมที่อุดหนุนผลิตภัณฑ์ตราสิงห์ด้วยดีตลอดมา


ส่วนผสม
ในการทำเบียร์นั้น วัตถุดิบสำคัญที่ใช้คือ ข้าวมอลต์ (Malt) น้ำ ดอกฮ็อพ (Hop) และ ยีสต์ (Yeast)
ข้าวมอลต์ ได้มาจากข้าวบาร์เลย์ ซึ่งเป็นธัญพืช ที่นิยมปลูกในประเทศ ที่มีภูมิอากาศเย็น จะมีการปลูกกันมาก ในประเทศทางทวีปยุโรป เช่น เยอรมนี ออสเตรีย อังกฤษ เดนมาร์ก และ ออสเตรเลีย ส่วนประเทศไทยมีการนำ สายพันธุ์ ข้าวบาร์เลย์เข้ามาปลูกในแถบ ภาคเหนือ ซึ่งมีภูมิอากาศเย็น มีการ ส่งเสริม การปลูกข้าวบาร์เลย์
น้ำ เป็นวัตถุดิบที่สำคัญอีกตัวหนึ่ง เนื่องจากเบียร์มีส่วนประกอบที่เป็น น้ำมากกว่า 90% คุณภาพของน้ำ ที่ใช้สำหรับการ ผลิตเบียร์ขึ้นอยู่กับ ลักษณะของเบียร์ที่จะผลิต ความอ่อน ความกระด้างของน้ำจะมีผลต่อ รสชาติของเบียร์ หรือมีผลต่อความ เปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในกระบวน การผลิต
การผสม
การผลิตเบียร์เริ่มจากการนำข้าวมอลต์ มาบดให้เมล็ดแตก พร้อมทั้งใส่น้ำผสม ลงไปในถังผสม ถังผสมต่างๆ ที่ใช้ ในการผลิตเบียร์ในสมัยก่อนนั้น นิยม ทำด้วยทองแดง ตัวทองแดงนอกจากจะมี ความสวยงามแล้ว ยังเป็นตัวนำความร้อน ที่ดี ทำให้ความร้อนสามารถผ่านไปที่ของผสมในถังผสมได้เร็วขึ้นเมื่อผสมข้าวและน้ำลงไปในถังผสมแล้ว จึงทำให้ความร้อนที่เหมาะสม เพื่อให้ เอนไซม์ที่มีอยู่ในข้าวมอลต์ เปลี่ยนแป้ง ไปเป็นน้ำตาลมอลโตส (Maltose) หลังจากนั้นจึงแยก เอาของเหลวออกจาก กากข้าว ของเหลวดังกล่าวเรียกว่า เวิร์ท (Wort) ซึ่งจะมีความหวานของน้ำตาล มอลโตสอยู่ จากนั้นจึง ต้มเวิร์ทให้เดือด พร้อมทั้งใส่ดอกฮ็อพ เมื่อต้ม เวิร์ทจน ได้ที่แล้ว จะปล่อยให้ตกตะกอนก่อน หลังจากนั้นจึง ทำให้เย็นลงพร้อมทั้ง ใส่ยีสต์และเติมลมเพื่อการเจริญของยีสต์ แล้วนำไปหมักในถังหมัก
การหมัก
อุณหภูมิของการหมักขึ้นอยู่กับ ชนิดของเบียร์ และชนิดของ ยีสต์ที่ใช้ การหมักจะใช้เวลา ประมาณ วัน สำหรับท็อปยีสต์ ส่วนบ็อททอมยีสต์ใช้เวลา 7-10 วัน หลังจากเสร็จสิ้นกระบวนการ หมักแล้วจึงแยกยีสต์ออก เบียร์ที่ได้ ในช่วงนี้เรียกว่าว กรีนเบียร์ (Green beer) หรือ ยังเบียร์ (Young beer) ซึ่งจะต้อง นำไปเก็บบ่มต่อไปอีกระยะหนึ่ง โดยการควบคุมความเย็นและ แรงดันภาย ในถังบ่มเพื่อให้เบียร์ใส ขึ้นและมีรสชาติที่กลมกล่อมหลังจากนั้นนำไปกรอง เพื่อแยก เอาตะกอนแขวนลอย และยีสต์ ที่ตกค้างออก จึงจะได้เบียร์ที่ใส พร้อมดื่ม
การบรรจุภัณฑ์และการจัดจำหน่าย
แสงสว่างซึ่งมีอัลตราไวโอเลต (UV) สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับเบียร์ได้ มีผลทำให้สีของเบียร์เปลี่ยนแปลงไป ดังนั้นการบรรจุเบียร์ลงในภาชนะที่เป็นขวด จึงนิยมใช้ขวดที่มีสี เช่น สีน้ำตาล หรือสีเขียว ซึ่งจะช่วยป้องกันแสงอัลตราไวโอเลต ผ่านได้ เบียร์จะได้รับการบรรจุขวด ผนึกฝา และ ติดฉลากด้วยเครื่องจักรโดย อัตโนมัติ โดยมีผู้คอยตรวจสอบทุกขั้นตอนการผลิต และมีการทดสอบในห้องทดลองของโรงเบียร์ ซึ่งเป็นขั้นตอนสุดท้ายเพื่อให้แน่ใจว่าเบียร์ทุกขวดได้รับการบรรจุอย่างเรียบร้อย ปราศจาก สิ่งปนเปื้อน และพร้อมที่จะจัดจำหน่ายเบียร์จะถูกจัดส่งผ่านเครือข่ายผู้จัดจำหน่ายของบุญรอด ไปยังภัตตาคาร บาร์ และร้านค้า ทั่วประเทศเพื่อให้ผู้บริโภคได้ดื่มกันอย่างทั่วถึง
สายผลิตภัณฑ์
คุณภาพของสินค้าเป็นหัวใจสู่ความสำเร็จของกลุ่มบริษัทบุญรอด การให้ความสำคัญกับการผลิต สินค้าคุณภาพเยี่ยมทำให้บุญรอดสามารถรักษาปณิธานดั้งเดิมนี้ไว้ได้ โดยมีการเลือกสรรวัตถุดิบที่ดี ที่สุดจากธรรมชาติ ผ่านขั้นตอนการผลิตที่ทันสมัย และการตรวจสอบคุณภาพที่เข้มงวด ด้วยปัจจัยเหล่านี้ ทำให้สินค้าของบุญรอดเป็นสัญลักษณ์ของคุณภาพ ในทุกๆ วัน ผู้บริโภคนับล้านทั้งใน และต่างประเทศ ได้แสดงถึงความไว้วางใจในกลุ่มบริษัทของเรา โดยการเลือกซื้อสินค้าของบุญรอด ความเชื่อถือซึ่งมาจากการ ปูพื้นฐานภาพพจน์ด้านคุณภาพเป็นระยะเวลายาวนานถึง ทศวรรษ
โซดา
น้ำดื่มตราสิงห์
เบียร์ลีโอ
วิเคราะห์ PEST
การเมือง
1. กฎหมายและข้อบังคับของรัฐบาลเช่นการควบคุมเวลาในการขายเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
2. การผลิตเบียร์มีระบบสัมปทาน
3. ภายในปี2550 ยังไม่มีทิศทางที่แน่นอนในการเลือกตั้ง

เศรษฐกิจ
1. บริษัทต่างๆปิดกิจการลงทำให้การว่างงานมากขึ้น
2. การปล่อยสินเชื่อจากสถาบันการเงินยากขึ้น
3. ระดับการจ้างงานและเงินเดือนลดน้อยลงเนื่องจากอัตราเติบโตของเศรษฐกิจยังไม่ดีพอ
4. ค่าเงินบาทแข็งค่าขึ้น
5. ดัชนีผลผลิตอุตสาหกรรมปี2550 ครึ่งปีหลังอยู่ที่4.9%

สังคม วัฒนธรรม

1. การนับถือศาสนา เช่นศาสนาพุทธในช่วงเข้าพรรษาจะงดเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
2. กระแสการรักสุขภาพ
3. ศาสนาอิสลามจะไม่ให้ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์
4. วิถีการดำรงชีวิตเปลี่ยนไปเช่นในฤดูหนาวสั้นลงผู้บริโภคก็ดื่มน้อยลง

เทคโนโลยี
1. กระบวนการผลิต รูปลักษณ์ รสชาติเป็นปัจจัยในการเลือกซื้อสินค้า
2. การพัฒนาเทคโนโลยีในการผลิตใน3-5ปีข้างหน้าจะปรับตัวในทางที่ดีขึ้น
3. การพัฒนาการของอุตสาหกรรมทดแทนที่ดีขึ้นเช่นเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์น้องกว่าเบียร์หรือพวกที่ไม่มีแอลกอฮอล์
 

วิเคราะห์ 5M โดยใช้ SWOT
Man (คน)
จุดแข็ง
1.ผู้บริหารมีประสบการณ์ความรอบรู้ ความซื่อสัตย์และมีความรู้ ความเข้าใจในเรื่องอุตสาหกรรมเบียร์
2.พนักงานได้รับการส่งเสริม และพัฒนาความรู้ ความสามารถ ทักษะของพนักงานให้สามารถปฏิบัติงานได้
อย่างมีประสิทธิภาพ
3.ผู้บริหารของบริษัท มีความเชี่ยวชาญในการบริหารจัดการ
4.มีการพัฒนาฝึกอบรมบุคลากรใหม่ๆให้มีทักษะความชำนาญ เพื่อทดแทนบุคลากรที่เปลี่ยนต้นสังกัดได้
จุดอ่อน
1.มีการแข่งขันกันภายในองค์กรสูง เพื่อแสดงผลงานของตนเองอาจทำให้เกิดการขัดแย้งกัน
โอกาส
1.บริษัทเป็นที่ต้องการของตลาดแรงงาน ทำให้สามารถเลือกพนักงานที่มีคุณภาพมาทำงานในองค์กรได้
อุปสรรค
1.เกิดปัญหาสมองไหลถ้าเกิดการซื้อตัวพนักงานที่มีความรู้ความสามารถขององค์กร

Money (เงิน)
จุดแข็ง
1.มีงบประมาณในการดำเนินงานสูงทำให้เกิดความคล่องตัวในการจัดทำกิจกรรมในด้านต่างๆ เช่นด้านการตลาด การส่งเสริมการขาย รวมถึงการลงทุนเพิ่มในธุรกิจอื่นๆ
2.บริษัทมีเครดิตในการขอกู้เงินจากแหล่งเงินทุนต่างๆ
จุดอ่อน
1.การระดมเงินทุนต้องใช้ระยะเวลา

โอกาส
1.ความสามารถในการลงทุนอย่างอื่นที่บริษัทเห็นว่าเหมาะสม เช่นการไปลงทุนในธุรกิจอื่นๆ
อุปสรรค
1.การแข็งค่าของเงินบาทอย่างต่อเนื่อง
2.อัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่สูงขึ้น

Materials (วัสดุอุปกรณ์)
จุดแข็ง
1.บริษัทเลือกใช้เทคโนโลยีและอุปกรณ์ที่มีประสิทธิ์ภาพสูงและทันสมัย
2.บริษัทในเครือและซัพพลายเออร์สามารถสนับสนุนวัสดุอุปกรณ์ได้เป็นอย่างดี
3.ความสามารถในการขยายกำลังการผลิต
จุดอ่อน
1.เครื่องจักรบางชนิดเสื่อมคุณภาพเร็วกว่าที่กำหนด
2.อุปกรณ์บางชนิดบริษัทต้องสั่งจากต่างประเทศ ไม่สามารถหาได้ในเมืองไทย
โอกาส
1.เป็นผู้นำทางด้านเทคโนโลยีในการผลิตเบียร์

อุปสรรค
1.ความอ่อน ความกระด้างของน้ำจะมีผลต่อ รสชาติของเบียร์ หรือมีผลต่อความ เปลี่ยนแปลง ที่จะเกิดขึ้นในกระบวน การผลิต

Management (การจัดการ)
จุดแข็ง
1.บริษัทมีระบบการจัดการควบคุมภายในอย่างต่อเนื่อง
2.บริษัทมีระบบการควบคุมคุณภาพที่เชื่อถือได้

จุดอ่อน
1.ขนาดที่ใหญ่ขององค์กรมีส่วนทำให้การบริหารการจัดการบางครั้งไม่ทั่วถึง
2.บริษัทต้องใช้งบประมาณเป็นจำนวนมากในการจัดระบบการจัดการ
3.ธุรกิจยังเป็นระบบครอบครัวดูได้จากนามสกุลของผู้บริหาร
โอกาส
1.บริษัทให้ความสำคัญกับการสร้างนวัตกรรมในการสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์และบริการ เพื่อให้เข้าถึงความต้องการของลูกค้ากลุ่มต่างๆ
2.บริษัทสามารถที่จะพัฒนาบุคคลที่มีความสามารถเข้ามาทำงานให้กับองค์กรได้อย่างถูกต้องและเหมาะสม
อุปสรรค
1.แสงสว่างซึ่งมีอัลตราไวโอเลต (UV) สามารถทำปฏิกิริยาออกซิเดชั่นกับเบียร์ได้ มีผลทำให้สีของเบียร์เปลี่ยน
แปลงไป
Marketing (การตลาด)
จุดแข็ง
1.บริษัทมีนโยบายการทำตลาดเพิ่มเติมโดยมีงบในการตลาดจำนวนมาก
2.บริษัทสามารถตอบสนองความต้องการของกลุ่มลูกค้าทุกกลุ่ม
3.บริษัทมีสินค้าหลากหลายและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวและที่สำคัญผลิตภัณฑ์ต้องมีคุณภาพ
4.บริษัทตระหนักถึงความสำคัญของการผลิตสินค้าให้ได้มาตรฐานเป็นที่ยอมรับระดับโลกจึงเน้นการสร้างตรา
สินค้าให้เป็นที่ย่อมรับ
5.มีช่องทางจัดจำหน่ายได้หลายช่องทางและครอบคลุมทั่วประเทศ
จุดอ่อน
1.บริษัทต้องตามให้ทันกับความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ซึ่งบางครั้งจำเป็นต้องใช้เวลาใน
การวิเคราะห์เพื่อให้ได้มาเพื่อความต้องการนั้น
โอกาส
1.มีการขยายตลาดไปสู่ต่างประเทศ
2.มีอัตราการเติบโตของนักดื่มกลุ่มใหม่ๆเกิดขึ้น เช่นกลุ่มลูกค้าเบียร์ลีโอ
อุปสรรค
1.มีคู่แข่งขันทั้งในประเทศและต่างประเทศ
2.ผู้บริโภคบางกลุ่มมีความอ่อนไหวในเรื่องราคา
Miscellaneous (อื่น)
จุดแข็ง
1.เน้นที่จะส่งเสริมกิจกรรมทางสังคม นอกเหนือจากการให้ความช่วยเหลือสนับสนุนกิจกรรมที่มีคุณค่าทุกประเภท
เพื่อตอกย้ำตราสินค้าและสร้างความภักดีแก่ผู้บริโภคอย่างต่อเนื่อง
2.ให้ความสำคัญกับซัพพลายเออร์ไม่ใช่เพียงแค่คู่ค้าแต่เปรียบเสมือนพาร์ตเนอร์ที่เดินไปสู่ความสำเร็จเคียงข้างกัน
3.มีระบบบำบัดน้ำทิ้งที่ดี

จุดอ่อน
1.บริษัทต้องทำการลงทุนเองเมื่อจะขยายบริษัทเพื่อรองรับปัจจัยทางเศรษฐกิจที่จะขยายตัวในอนาคต
โอกาส
1.การที่มีกำแพงภาษีประเภทเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ถึง330%ทำให้บริษัทสามารถแข่งขันภายในประเทศได้ง่ายแต่
ขณะเดียวกันบริษัทก็เข้าไปขยายตัวในต่างประเทศได้
2.บริษัทมีช่องทางในการทำตลาดมากขึ้นในต่างประเทศ

อุปสรรค
1.ภาครัฐไม่ให้การส่งเสริมและสนับสนุน
2.มีคู่แข่งขันในประเทศเพิ่มมากขึ้นและต่างประเทศที่ลักลอบนำเข้ามา
3.ปัจจัยลบจากราคามันสำปะหลังและสภาพอากาศที่แปรปรวน
4.กระแสการรักสุขภาพ
แนวโน้ม (Trends)
T1 ภาวะโลกร้อน
T2 ราคาน้ำมัน
T3 พฤติกรรมการบริโภค
T4 ค่าเงินบาทและภาวะทางเศรษฐกิจ
T5 การทำตลาดของคู่แข็งขันทางธุรกิจ
T6 สถานการณ์ทางการเมือง
T7 กำลังการผลิต
T8 ระบบสัมปทาน
T9 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิต
T10การนับถือศาสนาต่างๆ
การวิเคราะห์แนวโน้ม (Trends Analysis)
แนวโน้มที่แน่นอน (Certainly Trends)
C1 คู่แข่งทางการตลาดมีการแข่งขันสูง
C2 ราคาน้ำมันที่มีแนวโน้มจะขึ้นอยู่ตลอดเวลา
C3 การพัฒนาเทคโนโลยีและนวัตกรรมการผลิตที่มีอย่างต่อเนื่อง
C4 ระบบสัมปทานในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มแอกอฮอล์
แนวโน้มที่ไม่แน่นอน (Uncertainly Trends)
U1 ภาวะโลกร้อนซึ่งทำให้สภาพอากาศแปรปรวนฤดูกาลอาจจะเปลี่ยนแปลงไปทำให้เกิดความแห้งแล้ง
เร็วกว่าปกติส่งผลกระทบต่อกลุ่มระดับล่าง เพราะกำลังซื้อจะลดน้อยลง
U2 กลุ่มผู้บริโภคที่มีกระแสเกี่ยวกับการรักสุขภาพ
U3 สถานการณ์ทางการเมืองที่ยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการเลือกตั้งหรือไม่มีและถ้าเลือกแล้วกลุ่มอำนาจเก่า
กลับมาจะมี การปฏิวัติใหม่อีกหรือไม่
U4 กำลังการผลิตและวัตถุดิบต่างๆรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมของบริษัทฯ
U5 การแข็งค่าขึ้นอย่างต่อเนื่องของเงินบาทมีผลทำให้วัสดุต่างๆที่นำเข้ามาจากต่างประเทศถูกลง

การจัดกลุ่มตามแกน (Cluster into Axes)

แกน เป็นกำลังการผลิตและวัตถุดิบต่างๆรวมถึงบรรจุภัณฑ์ที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมของบริษัทฯ U4
แกน เป็นกลุ่มผู้บริโภคที่มีกระแสเกี่ยวกับการรักสุขภาพ U2
บทสรุป
Scenarioa A สรุปได้ว่า กระแสของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรักสุขภาพมากขึ้นแสดงว่าผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์น้อยลง ในขณะที่กำลังการผลิตและวัตถุดิบรวมถึงบรรจุภัณฑ์มีความพร้อมมากแสดงว่าผลิตได้มาก ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำควรใช้กลยุทธ์ด้านผลิตภัณฑ์คือเน้นรูปลักษณ์ของผลิตภัณฑ์ ได้แก่ลักษณะทางนวัตกรรม และคุณภาพรวมถึงการส่งเสริมการขายโดยใช้กลุ่มที่มีอิทธิพลต่อผู้บริโภคเป็นจุดขาย
Scenarioa B สรุปได้ว่า กระแสของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรักสุขภาพน้อยแสดงว่าผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์มากขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิตและวัตถุดิบรวมถึงบรรจุภัณฑ์มีความพร้อมมากแสดงว่าผลิตได้มาก ทำให้ต้นทุนในการผลิตต่ำควรใช้กลยุทธ์ด้านการขยายตัว โดยพัฒนาผลิตภัณฑ์และเจาะการตลาดให้มากขึ้น โดยกระตุ้นลูกค้าในปัจจุบันให้เพิ่มปริมาณการซื้อให้มากขึ้นและขณะเดียวกันก็หาลูกค้าใหม่ๆด้วย
Scenarioa C สรุปได้ว่า กระแสของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรักสุขภาพมากขึ้นแสดงว่าผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์น้อยลง ในขณะที่กำลังการผลิตและวัตถุดิบรวมถึงบรรจุภัณฑ์ไม่มีความพร้อมแสดงว่าผลิตได้น้อย ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงควรใช้กลยุทธ์โดยลงทุนต่ำสุดคือลดขนาดและต้นทุนที่ไม่สำคัญและพยายามทำกำไรให้สูงสุดเพื่อวางแผนการขายให้มากเพิ่มขึ้นและทำสินค้าให้มีคุณภาพมากขึ้นด้วย
Scenarioa D สรุปได้ว่า กระแสของกลุ่มผู้บริโภคที่มีการรักสุขภาพน้อยแสดงว่าผู้บริโภคดื่มเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์มากขึ้น ในขณะที่กำลังการผลิตและวัตถุดิบรวมถึงบรรจุภัณฑ์ไม่มีความพร้อมแสดงว่าผลิตได้น้อย ทำให้ต้นทุนในการผลิตสูงควรใช้กลยุทธ์การขยายตัวผลิตภัณฑ์และหาแหล่งวัสดุใหม่ รวมถึงการพัฒนาอบรมบุคลากรให้มีความเชี่ยวชาญมากขึ้น



ข้อแสนอแนะ

1. สร้างการยอมรับในตัวสินค้าโดยการตอกย้ำBRANDให้มากขึ้น
2. การมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมให้มากขึ้นเช่น การเข้าร่วมการจัดกิจกรรมต่างๆกับทางภาครัฐบาล
3. ใช้กลยุทธ์เชิงรุกเพื่อเพิ่มส่วนแบ่งในตลาดโดยใช้กิจกรรมทางด้านกีฬาเช่นการแข่งขันฟุตบอล
4. ใช้โอกาสจากการที่ค่าเงินบาทที่แข็งค่าขึ้นโดยหาเครื่องจักรและเทคโนโลยีการผลิตที่ทันสมัยจากต่างประเทศมาปรับปรุงเพื่อลดต้นทุนในการผลิต
5. การพัฒนาคุณภาพของเครื่องดื่มที่มีแอกอฮอล์โดยเน้นหลักการที่ว่าดื่มอย่างไรให้มีประโยชน์ต่อร่างกาย





ไม่มีความคิดเห็น: