วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2564

การควบคุมคุณภาพ ครั้งที่ 2 วิธีการเก็บข้อมูล (How to Obtain Data) และใบตรวจสอบ

 

การควบคุมคุณภาพ ครั้งที่ 2

วิธีการเก็บข้อมูล (How to Obtain Data)
และใบตรวจสอบ

ให้นักศึกษาเรียนออนไลน์และอ่านทบทวนสไลน์ประกอบจากนั้นให้ตอบคำถามในแบบสอบถามตาม ลิ้งด้านล่างนี้


https://forms.gle/UPyWudyaqrBK4Yk26







2.1 หลังการเก็บข้อมูล  (How to Collect Data)
            
1. ต้องมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนก่อน
                
ข้อมูลคือแนวทางสู่การแก้ปัญหาของเรา จากข้อมูลจะบอกปรากฎการณ์พฤติกรรมหรือคุณสมบัติใดๆที่เราต้องการจะทราบ ดังนั้นก่อนจะลงมือเก็บข้อมูลเราจะต้องสร้างภาพมองที่ชัดเจนในใจก่อนว่า เราต้องการเก็บข้อมูลไปเพื่อทำอะไร
                ในโรงงานทั่วไป บ่อยครั้งที่วัตถุดิบบางล็อตถูกปฎิเสธ (
Reject) จากฝ่ายตรวจคุณภาพวัตถุดิบ (Incoming Quality Assurance หรือ IQA) แต่ด้วยเหตุผลทางการผลิต จำเป็นต้องอนุมัติให้ยอมรับวัตถุดิบล็อตนั้นเพื่อส่งเข้าไปใช้ร่วมกันกับวัตถุดิบล็อตอื่นๆที่ผ่านการตรวจสอบปกติ โดยที่ข้อมูลจาก IQA ซึ่งมีประโยชน์ต่อการค้นหาสาเหตุความบกพร่องในการผลิตต่อไป อาจไม่ได้ถูกส่งไปยังฝ่ายผลิตก็ได้ เมื่อวัตถุดิบล็อตที่มีปัญหานั้นถูกนำไปปะปนใช้กับล็อตที่ดีก็อาจสร้างปัญหาแก่ฝ่ายผลิตไม่น้อยเลยก็ได้
                ในเชิงการวบคุมคุณภาพ วัตถุประสงค์ของการเก็บข้อมูลคือ
                
1. เพื่อควบคุมและติดตามดู (Monitoring) ผลการดำเนินการผลิต
                
2. เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุของความไม่สอดคล้อง (Non-Conformance)
                3. เพื่อการตรวจเช็ค
                ดังนั้น ข้อมูลใดๆ ที่มีการเก็บขึ้นมาจะต้องมีวัตถุประสงค์เฉพาะตัวที่ชัดเจนและต้องตามด้วยการปฏิบัติการเท่านั้นจึงจะเกิดประโยชน์
                2. อะไรคือวัตถุประสงค์ของคุณ
                
สมมุติว่ามีปัญหาเรื่องขนาดของสินค้าตัวหนึ่งไม่เท่ากันหากว่ามีการกำหนดให้สุ่มตัวอย่างสินค้าจากปลายสายการผลิตเพียง 1 ตัวอย่างต่อวัน ข้อมูลที่ได้อาจไม่มีประโยชน์เลย เพราะไม่อาจบอกได้ว่าชิ้นงานนั้นผลิตจากเครื่องจักรชุดใด ใครเป็นคนผลิต จากวัตถุดิบล็อตใดและบกพร่องจากขั้นตอนใด เป็นต้น
                เมื่อกำหนดวัตถุประสงค์ที่ชัดเจนได้แล้ว เราจำเป็นต้องออกแบบแบฟอร์มในการจดบันทึกและสะด
;dต่อการอ่านค่า และนำไปวิเคราะห์ต่อไปได้
                ตัวอย่างการจดบันทึกข้อมูลลงในแผ่นบันทึกข้อมูล (
Data Sheet) ที่ถูกต้องและสะดวกใช้งานได้แสดงไว้ในตารางที่ 2.1 ข้างล่างนี้

ตาราง 2.1 ตัวอย่างแผ่นบันทึกข้อมูล

               
                ในตราง 2.1 เขาต้องการบันทึกข้อมูลจากการผลิตทุกวันจำนวน 25 วันในเดือนกุมภาพันธ์ เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 เป็นต้นไป และทำการตรวจเช็คและเก็บข้อมูลวันละ 4 เวลา คือ 9.00 ., 11.00 ., 14.00 .,และ 16.00 น ก็ควรจะบันทึกได้ในตัวอย่างซึ่งแสดงในตาราง 2.1 นี้
2.2 แผ่นตรวจสอบ (Check Sheets)                แผ่นตรวจสอบ (Check Sheets) คือ แผ่นที่มีแบบฟอร์มซึ่งได้รับการออกแบบช่องว่างต่างๆและพิมพ์มาเรียบร้อยเพื่อให้ผู้บันทึกสามารถลงบันทึกข้อมูลต่างๆลงในแต่ละช่องว่างได้อย่างสะดวก ถูกต้อง ไม่ยุ่งยากและต้องเขียนน้อยที่สุดขณะเดียวกัน ผู้ที่อ่านข้อมูลหลังการจดบันทึกแล้วต้องเข้าใจได้ง่ายนำไปใช้ได้เลยดังนั้นในการออกแบบฟอร์มแผ่นตรวจสอบจึงต้องกำหนดเป้าหมายไว้อย่างน้อย ประการคือ
                
1.เพื่อช่วยให้การกรอกข้อมูลสะดวกสบายที่สุด
                
2.เพื่อให้ข้อมูลที่จดบันทึกสามารถนำไปใช้ได้อย่างง่ายดายที่สุด
          

เราควรถือหลักที่ว่า ยิ่งมีการเขียนมากเท่าใดโอกาสผิดมีมากเท่านั้นและยิ่งมีการคัดลอกข้อมูลมากครั้งเท่าใดโอกาสผิดเพี้ยนก็จะมีมากเท่านั้น ดังนั้น แผ่นตรวจสอบที่ดีจึงทำไว้ให้ต้องขีดเขียนน้อยที่สุด อาจต้องการเพียงการทำเครื่องหมายง่ายๆลงไปในช่องว่าง หรือการกรอกตัวเลขเพียงไม่กี่ตัวในการตรวจสอบแต่ละครั้งเท่านั้น






รูป 2.1 แผ่นตรวจสอบที่แสดงการแจกแจงของขนาดของชิ้นงานจากการผลิตขั้นตอนหนึ่ง

ตัวอย่าง 2.1 การใช้แผ่นตรวจสอบเพื่อจดบันทึกผลการตรวจวัดจากผลิต
                
แผ่นตรวจสอบในรูป 2.1 ได้จากการตรวจสอบขนาดของชิ้นงานจากการผลิตขั้นตอนหนึ่ง ซึงมีขนาดตามข้อกำหนดว่า 8.300 ± 0.008 
              จากรูป 
2.1 ผู้จดบันทึกเพียงทำเครื่องหมาย กากบาท 1 อันลงในช่อง 1 ช่องต่อการตรวจสอบ 1 ครั้ง เท่านั้น ซึ่งผลจากการจดบันทึกดังกล่าว จะปรากฎเป็นฮีสโตแกรม ซึ่งสามารถนำไปใช้ในการวิเคราะห์เชิงสถิติต่อไปได้ อาทิ การหาค่าเฉลี่ย (Mean) ของขนาดชิ้นงาน หาค่าความแปรปรวน (Variance) ตลอดจนรูปร่างของการแจกแจงได้
              ในกรณีเก็บข้อมูลหลายชนิดลงในแผ่นตรวจสอบเดียวกัน อาจกำหนดให้ใช้เครื่องหมายต่างชนิดกัน หรือต่างสีกันก็ได้
               ตัวอย่าง 
2.2 แผ่นตรวจสอบสำหรับบันทึกของเสีย
               ในรูป 
2.2 ข้างล่างนี้เป็นตรวจสอบเพื่อใช้บันทึกของเสียจากการฉีดพลาสติกด้วยเครื่องฉีดพลาสติกชนิดหนึ่งโดยมีข้อกำหนดด้านอนุภาพ


รูป 
2.2 แผ่นตรวจสอบสำหรับของเสีย
สำคัญๆ 4 ชนิด คือ ตำหนิที่ผิวชิ้นงาน,ฉีดไม่เต็มชิ้น,รูปร่างบิดเบี้ยว และอื่นๆเพราะการระบุเฉพาะจำนวนชิ้นงานที่เสียอย่างเดียวไม่อาจบอกถึงสาเหตุแห่งความบกพร่องและความถี่ของแต่ล่ะสาเหตุได้
                จากรูป
 2.2 จะพบว่ามี จำนวนความบกพร่อง ทั้งสิ้น 62 จุดบกพร่องจากการตรวจสอบชิ้นงานทั้งสิ้น 1,525 ชิ้น และมีจำนวนชิ้นงานเสียต้องคัดทิ้ง 42 ชิ้นทั้งนี้เป็นเพราะว่าของเสียบางชิ้นมีจุดบกพร่องที่ตรวจพบมากกว่า 1 แห่ง นั้นเอง (ซึ่งอาจจะเฉลี่ยได้ว่า มีจุดบกพร่อง = 62/42 = 1.48 แห่งต่อชิ้นงานเสีย ชิ้น)
หรือมีเปอร์เซ็นต์ชิ้นงานเสีย = (42 / 1,525x100 = 2.75%
 มีเปอร์เซ็นต์จุดบกพร่อง (62/ 1,525) x 100 = 4.06%
                ต้วอย่าง 2.3 แผ่นตรวจสอบที่แสดงตำแหน่งการเกิดจุดบกพร่อง
                
ในรูป 2.3 ได้แสดงตัวอย่างการใช้แผ่นตรวจสอบชนิดที่แสดงตำแหน่งที่ตั้งหรือจุดที่ตรวจพบจุดบกพร่องของผลิตภัณฑ์เพื่อช่วยให้ผู้ผลิตสามารถค้นหาและวิเคราะห์หาสาเหตุแห่งความบกพร่องขณะทำการผลิตได่ง่ายขึ้น
แผ่นตรวจสอบ
ชื่อผลิตภัณฑ์และหมายเลข ___________________________________________________
วัสดุ _____________________________________________________________________
 ผู้ผลิต ____________________________________________________________________



รูป 2.3 แผ่นตรวจสอบที่แสดงตำแหน่งการเกิดจุดบกพร่อง
จากรูป 2.3 แสดงรายละเอียดตำแหน่งของจุดบกพร่องของชิ้นงานเหล็กหล่อชนิดหนึ่งโดยการแสดงรายละเอียดตำแหน่ง (Location) ของจุดบกพร่อง (Defect) ที่ตรวจพบ เมื่อเขียนลงในตารางข้อมูลส่วนล่างแล้ว ผู้อ่านผลจะทราบได้ทันทีเลยว่า บริเวณใดของชิ้นงานชนิดนี้มีปัญหา จึงง่ายต่อการไปวิเคราะห์ดูกระบวนการผลิตต่อไป
ตัวอย่าง 2.4 แผ่นตรวจสอบชนิดแสดงสาเหตุของความบกพร่อง
ในรูป 
2.4 เป็นตัวอย่างแผ่นตรวจสอบที่ได้จำแนกแหล่งผลิตของชิ้นงานที่ทำการตรวจสอบคุณภาพ โดยชิ้นงานดังกล่าวคือ มือหมุนของอุปกรณ์ไฟฟ้าที่



O  รอยขีดข่วนผิวงาน        x  ฟองอากาศ         ผิวงานสำเร็จไม่ได้ด้วยคุณภาพ
๏  งานผิวรูปร่าง                 ความบกพร่องอื่นๆ
รูป 2.4 แผ่นตรวจสอบชนิดแสดงสาเหตุของความบกพร่อง
ฉีดขึ้นมาจากพลาสติกประเภทเบคเกอร์ไลท์ โดยในตารางดังกล่าวได้ระบุหมายเลขของเครื่องจักที่ทำการผลิตและพนักงานที่ควบคุมเครื่องจักร แล้วเก็บข้อมูลตลอดสัปดาห์โดยแบ่งการตรวจสอบเป็น 2 เวลา คือ ช่วงเช้าและช่วงบ่ายในแต่ละวัน และในแต่ละเครื่องใช้พนักงานควบคุมเตรื่อง 2  คน สลับกันทำคนละสัปดาห์
จากรูป 2.4 เราพบว่าในกลุ่มพนักงาน 4 คน นาย ข ผลิตชิ้นงานที่มีความบกพร่องมากที่สุดและในวันพุธมีจำนวนชิ้นงานที่มีความบกพร่องต่อวันสูงสุดและพนักงานทุกๆคนมีสถิติสูงเช่นเดียวกัน ทำให้สามารถไปวิเคราะห์ดูว่า ทำไม นาย ข จึงผลิตชิ้นงานที่มีความบกพร่องมากกว่าคนอื่นๆและทำไมความบกพร่องของชิ้นงานจึงเกิดมากเฉพาะในวันพุธ เป็นต้น

ตัวอย่างใบตรวจสอบงานแบบอื่นๆทั้งงานผลิตและบริการ














แบบฝึกหัด 2.1
            มีโรงงานผลิตเลนส์แห่งหนึ่ง ในแผนกฝนเลนส์ มีเครื่องฝนเลนส์ 4  เครื่อง มีพนักงาน 2 คน ต่อมาพบว่าสถิติจำนวนเลนส์ที่เสียมีเพิ่มมากขึ้นจากแผนกนี้ และพนักงานควบคุมเครื่องทั้ง 2 คนก็ได้ร้องขอให้มีการเปลี่ยนเครื่องจักรใหม่โดยอ้างว่าเครื่องที่ตนใช้นั้นเก่ามากแล้วแต่ทว่าผู้บริหารกลับบอกว่า น่าจะเกิดจากการไม่ระมัดระวังของพนักงานมากกว่า หากท่านต้องไปแก้ไขปัญหานี้ ท่านจะทำอย่างใร(โปรดออกแบบใบตรวจสอบเพื่อเก็บข้อมูลด้วย)











































ไม่มีความคิดเห็น: