วันพฤหัสบดีที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2562

การเตรียมพร้อมก่อนเรียน ครั้งที่๖ หัวข้อการเขียนแบบเบื้องต้น เรื่องมาตรฐานการเขียนแบบ

การเตรียมพร้อมก่อนเรียน ครั้งที่๖

 หัวข้อการเขียนแบบเบื้องต้น  

เรื่องมาตรฐานการเขียนแบบ

สำหรับผู้ที่มีความชำนาญอาจจะใช้กระดาษธรรมดาทำการสเกตรูปงาน  ส่วนที่ยังไม่มีความชำนาญควรทำการสเกตภาพลงบนกระดาษ  สำหรับใช้ในงานสเกตภาพ  โดยเฉพาะจะทำให้การลากเส้นต่าง ๆ ของงาน  และสัดส่วนของภาพถูกต้อง  โดยกระดาษสำหรับใช้งานสเกตภาพจะพิมพ์เป็นตาราง  ซึ่งจะทำให้การสเกตภาพสะดวกขึ้น

มาตราส่วน
ขนาดงานจริง
ขนาดที่เขียนลงในแบบงาน
1 :1
2 :1
5 :1
10 :1
1 :2
1 :5
1 :10
10
10
20
50
100
5
2
1
20
20
40
100
200
10
4
2
30
30
60
150
300
15
6
3
 สัญลักษณ์ของหน่วยในระบบเมตริก                             การแปลงหน่วยระบบเมตริกเป็นระบบนิ้วมิลลิเมตร        =          มม.                         1  มิลลิเมตร         =             0.03937      นิ้วเซนติเมตร       =          ซม.                         1  เซนติเมตร       =             0.3937        นิ้วเดซิเมตร         =          ดม.                         1  เมตร                 =             39.37           นิ้วเมตร              =          ม.                           1  กิโลเมตร          =             0.6214        ไมล์







































การลากเส้นตรง

การลากเส้นตรงสำหรับการสเกตภาพ  เป็นการลากเส้นโดยใช้ความชำนาญของผู้ปฏิบัติงาน  จึงควรปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ  เส้นตรงที่ใช้ในงานสเกตภาพมีหลายลักษณะดังนี้

เส้นตรงในแนวนอน  การลากเส้นตรงในแนวนอน  ควรต้องกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย  แล้วจึงลากเส้นจากทางซ้ายมือไปทางขวามือ  ถ้าต้องการลากเส้นที่มีความยาวมากควรลากเส้นสั้น ๆ ต่อ ๆ  กันจะง่ายกว่าการลากเส้นยาว

  


เส้นตรงแนวดิ่ง   การลากเส้นตรงแนวดิ่ง  ควรลากเส้นจากบนลงมาล่าง  โดยใช้นิ้วแตะขอบกระดานสเกตจะช่วยทำให้ลากเส้นแนวดิ่งมีความตรงมากขึ้น
เส้นตรงแนวเฉียง   การลากเส้นตรงแนวเฉียงมีวิธีการลากเส้นเช่นเดียวกับการลากเส้นตรงแนวนอน  ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายแล้วจึงลากเส้นตรงแนวเฉียง  เริ่มจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบนได้ทั้ง  2  วิธี

การลากเส้นโค้งหรือวงกลม
การลากเส้นโค้งหรือกลม  นับว่าเป็นการเขียนที่ยากมาก  ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกหัดและเขียนอยู่อย่างสม่ำเสมอ  จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ  และปฏิบัติได้โดยไม่ยากนัก  การลากเส้นโค้งหรือวงกลมสามารถทำได้หลายวิธี

การสเกตวงกลมวิธีที่  1  โดยเขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  หาจุดกึ่งกลางของด้านที่วงกลมสัมผัส  ลากเส้นทแยงมุม  กำหนดจุดประมาณที่เส้นรอบวงจะผ่านบนเส้นทแยงมุม  จากนั้นเขียนส่วนโค้งผ่านจุดที่กำหนด  จะเกิดเป็นรูปวงกลม

การสเกตวงกลมวิธีที่  2  โดยการลากเส้นผ่าศูนย์กลาง  แล้วกำหนดจุดประมาณที่เส้นรอบวงของวงกลมจะผ่าน  เขียนส่วนโค้งผ่านจุดที่กำหนดจะเกิดเป็นรูปวงกลม



การสเกตวงกลมวิธีที่  3  โดยการใช้กระดาษวัดระยะรัศมีที่ต้องการเขียนบนกระดาษแล้วนำไปทาบบนกระดาษสเกต  โดยให้ด้านหนึ่งอยู่ที่จุดศูนย์กลาง  อีกด้านอยู่ที่เส้นรอบวงหมุนกระดาษไปแล้วทำจุดเส้นประไปจนครบวงกลม  แล้วจึงลงเส้นหนักตามแนวเส้นประ  จะเกิดเป็นรูปวงกลม


การสเกตวงกลมวิธีที่  4  โดยหาหมุนกระดาษสเกต  ทำได้โดยใช้ปลายนิ้วก้อยจรดที่จุดศูนย์กลาง  แล้วใช้มืออีกข้างหมุนกระดาษสเกตไปเรื่อย ๆ จนได้รูปวงกลมตามต้องการ
    
การสเกตวงกลมโดยใช้ดินสอ  การสเกตวงกลมวิธีนี้จะใช้ดินสอ  2  แท่ง  โดยให้ดินสอจรดที่จุดศูนย์กลาง  ดินสออีกแท่งกำหนดที่ขีดเส้นรอบวงของวงกลมแล้วหมุนกระดาษไปเรื่อย ๆ จะเกิดเป็นรูปวงกลม











การสเกตวงรีและภาพหลายเหลี่ยม
การสร้างวงรีโดยเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ให้มีขนาดความกว้าง  ความยาว  เท่ากับขนาดของวงรีที่ต้องการ  แบ่งครึ่งที่ด้านทั้งสี่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จุดกึ่งกลางของเส้น แล้วลากเส้นโค้งให้ต่อกันเป็นวงรี







การสเกตภาพสามมิติ









การสเกตภาพสามมิติ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดข้อมูลจากความคิดหรือจินตนาการของวิศวกรผู้ออกแบบให้เป็นภาพสามมิติ  เพื่อให้ช่างเขียนแบบสามารถเห็นรูปร่างของงานได้ทั้ง ความกว้าง ความยาว และความหนา การสเกตภาพสามมิตินี้สามารถทำได้ทั้งแบบไอโซเมตริกและแบบออบลิค ขึ้นอยู่กับลักษณะการวางชิ้น
งาน
การสเกตภาพออบลิคจากภาพสามมิติ

1.       สเกตภาพด้านหน้าตามที่กำหนด
2.       สเกตภาพตามความลึกของชิ้นงานทำมุม 45  องศา  กับแนวนอน
3.       ลบเส้นร่างที่ไม่ใช้ออกจากรูปงาน
4.       ลงเส้นเต็มหนักที่เส้นขอบรูป







การสเกตออบลิคจากภาพฉาย
1.       เขียนรูปกล่องสี่เหลี่ยมตามหลักการเขียนภาพ  OBLIQUE  โดยมีขนาดกำหนด
2.       สเกตรายละเอียดต่าง ๆ ตามภาพฉาย
3.       ลบเส้นที่ร่างออก  แล้วลงเส้นเต็มหนักของขอบชิ้นงาน



แบบฝึกหัด๖ (ทดสอบสมรรถณะ๕) ให้นักศึกษาลงไปที่พื้นที่ปฎิบัติงาน (Shop) ตึก ๑๘/๒ เลือกชิ้นงานที่ชอบแล้วสเก็ตแบบ นำมาเขียนแบบภาพฉายและ ภาพ ISO ส่งต่อไป


ภาพรุ่นพี่ปฎิบัติเมื่อปี๖๐และ๖๑











ไม่มีความคิดเห็น: