วันพฤหัสบดีที่ 27 มิถุนายน พ.ศ. 2562

การเตรียมพร้อมก่อนเรียน 2562 หัวข้อการเขียนแบบเบื้องต้น เรื่องมาตรฐานการเขียนแบบ และภาพสเก็ต

การเตรียมพร้อมก่อนเรียน

 หัวข้อการเขียนแบบเบื้องต้น  

เรื่องมาตรฐานการเขียนแบบ

และภาพสเก็ต

1.เครื่องมือและอุปกรณ์

 1.1   โต๊ะเขียนแบบ

1.2   กระดาษเขียนแบบ

1.3   ไม้ที 

1.4   บรรทัดสามเหลี่ยม

1.5   บรรทัดมาตราส่วน

1.6   บรรทัดเขียนส่วนโค้ง

1.7   แผ่นแบบ

1.8   วงเวียน

1.9   วงเวียนวัดระยะ

1.10  ปากกาเขียนแบบ

1.11  เครื่องเหลาดินสอ

1.12   เครื่องมือทำความสะอาด

1.13   ยางลบ 

1.                  เครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบ    

            การปฏิบัติการเขียนแบบ ที่จะได้แบบงานที่ถูกต้องและเป็นมาตรฐาน จะต้องอาศัย ทักษะของผู้ปฏบัติการเขียนแบบรวมทั้งเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเจียนแบบมีความสำคัญมากและได้คุณภาพงานที่เป็นมาตรฐานเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการเขียนแบบมีดังนี้

1.1          โต๊ะเขียนแบบ (DRAWING TABLE)โต๊ะเขียนแบบโดยทั่ว ๆ ไปจะมีขนาดมาตรฐานจาก 600 900 มม.ถึง 1,050 2100 มม. คุณลักษณะที่ดีของโต๊ะเขียนแบบ คือ
1.                   สามารถควบคุมการปรับเอียงของโต๊ะได้ 1 ด้าน
2.                   สามารถควบคุมการปรับความสูงได้ด้วยมือหรือเท้า
3.                   สามารถปรับตำแหน่งกระดานให้อยู่ในแนวตั้งได้
4.                    มีโคมไฟ
5.                   มีอุปกรณ์ประกอบในการเขียนแบบ
โต๊ะเขียนแบบที่เป็นรางเลื่อน           มีแขนเลื่อนตามขวางซึ่งเลื่อนไปทางซ้ายและขวาของโต๊ะเขียนแบบรูปร่างและการเคลื่อนที่ ตลอดจนการควบคุมการเคลื่อนที่จะแตกต่างกันไปตามบริษัทผู้ผลิต ดังรูป 1.1 ซึ่งแสดงถึงส่วนต่างๆ ของโต๊ะเขียนแบบที่เป็นรางเลื่อน ซึ่งมีข้อดีดังนี้
1.                   มั่นคงและแม่นยำ
2.                   ขณะใช้งานสามารถเอียงโต๊ะเป็นมุมชัน และชุดหัวไม่เลื่อนลง
3.                   ทั้งชุดหัวและแขนเลื่อนตามขวางล็อคได้ทุกตำแหน่ง ซึ่งเป็นคุณลักษณะที่สำคัญเมื่อต้องเขียนตัวอักษรหรือใช้อุปกรณ์อื่นๆ ในการเขียนแบบที่ต้องการตำแหน่งอันมั่นคง
     ภาพที่ 1.1 ลักษณะกระดานเขียนแบบและโต๊ะเขียนแบบ
     ภาพที่ 1.2 โต๊ะเขียนแบบ   1.2          กระดานเขียนแบบ                จะต้องมีพื้นผิวเรียบที่ขอบด้านซ้ายมือจะต้องเรียบและตรง  เนื่องจากหัวของไม้ที (T-Square) จะต้องแนบและเลื่อนขึ้นลงที่ขอบด้านซ้ายมือนั้น กระดานเขียนแบบส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้ในการเขียนแบบสนามหรือเขียนแบบนอกสถานที่  บางครั้งก็นำมาใช้เขียนแบบในโรงเรียนบ้างเหมือนกันกรณีที่โรงเรียนนั้นไม่มีโต๊ะเขียนแบบมาตรฐาน เพราะถ้าหากว่านักศึกษาเขียนไม่เสร็จ  สามารถนำไปเขียนต่อที่บ้านได้โดยไม่ต้องแกะแบบออกจากกระดาน ดังแสดงในภาพที่ 1.3 
   ภาพที่ 1.3 แสดงลักษณะของกระดานเขียนแบบและการใช้งานกับไม้ที    1.3               ไม้ที (T SQUARE)ไม้ทีเป็นเครื่องมือที่สำคัญในงานเขียนแบบ ไม้ทีมีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือหัว (HEAD) ทำจากไม้เนื้อแข็ง และใบ (BLADE)ทำจากไม้ทีขอบทำจากพลาสติกใส ทั้งสองส่วนจะยึดตั้งฉากกัน ไม้ทีใช้สำหรับเขียนเส้นในแนวนอน และใช้ประกอบกับฉากสามเหลี่ยม สำหรับเขียนเส้นในแนวดิ่ง และเส้นเอียงเป็นมุมต่าง ๆ


     ภภาพที่ 1.4 ลักษณะการใช้ไม้ทีเขียนเส้น
  ภาพที่ 1.5 การจับไม้ทีในงานเขียนแบบ   1.4               บรรทัดสามเหลี่ยม (TRIANGLES)บรรทัดสามเหลี่ยมปกติทำจากพลาสติกใส  สามารถมองเป็นเส้นที่เขียนได้ชัดเจน บรรทัดสามเหลี่ยมจะใช้คู่กับไม้ทีสำหรับเขียนเส้นดิ่ง  เส้นเอียงเป็นมุมต่าง ๆ บรรทัดสามเหลี่ยมปกติจะมี 2 อัน คือ 90 -45 -45และ 90-30-60
     ภาพที่ 1.6 ลักษณะการใช้บรรทัดสามเหลี่ยม
  ภาพที่ 1.7 แสดงลักษณะของบรรทัดสามเหลี่ยมมุม 45  และ 30-60
    ภาพที่ 1.8 แสดงลักษณะของบรรทัดสามเหลี่ยมชนิดปรับมุมได้
   ภาพที่ 1.9 แสดงวิธีการแบ่งมุมด้วยบรรทัดสามเหลี่ยม 45
   ภาพที่ 1.10 แสดงวิธีการแบ่งมุม 15 และ 75 ด้วยบรรทัดสามเหลี่ยม 45 และบรรทัดสามเหลี่ยม 30-60

1.5               บรรทัดมาตราส่วน (SCALE)
                เป็นบรรทัดที่มีมาตราส่วนต่าง ๆ หลายขนาด เช่น 1:1, 1:2, 1:5, 1.25 เพื่อสะดวกในการเขียนแบบลักษณะต่างๆ ที่ต้องใช้มาตราส่วนในการเขียนแบบเพื่อย่อหรือขยายทำให้สะดากและรวดเร็วซึ่งจะใช้มากในงานเขียนแบบทางสถาปัตยกรรม    ภาพที่ 1.11 ลักษณะของบรรทัดมาตรส่วน 1.6               บรรทัดเขียนส่วนโค้ง (IRREQULAR CURVES)
                บรรทัดเขียนส่วนโค้ง เป็นการเขียนที่จะใช้ในการเขียนส่วนโค้ง หรือเส้นโค้งในแบบงานที่ไม่สามารถใช้วงเวียนเขียนการใช้บรรทัดส่วนโค้งเป็นการเขียนที่จะต้องให้เส้นต่อเนื่องกันโดยการให้ส่วนโค้งของบรรทัดสัมผัส 3 จุด แล้วจึงลากเส้นผ่านจุดซึ่งผู้ปฏิบัติงานจะต้องมีความชำนาญ และมีประสบการณ์ในการใช้บรรทัดเขียนส่วนโค้งจึงสามารถเขียนส่วนโค้งได้สมบูรณ์      ภาพที่ 1 .12  ลักษณะการใช้บรรทัดเขียนส่วนโค้ง  ภาพที่ 1.13 รัศมีของโค้ง 1.7          แผ่นแบบ (Templates)                มีให้เลือกหลายขนาดและหลายแบบ เช่น วงกลม วงรี สามเหลี่ยม สี่เหลี่ยม ห้าเหลี่ยม  และหกเหลี่ยม เป็นต้น ดังแสดงในภาพที่ 1.7
   ภาพที่ 1.14  แสดงลักษณะของแผ่นแบบรูปร่างต่างๆ และวิธีการใช้แผ่นแบบรูปวงกลมขนาดเล็ก
    ภาพที่ 1.15 แผ่นแบบที่ใช้ในการเขียนแบบเทคนิค

1.8       วงเวียน (COMPASS)                วงเวียนเป็นเครื่องมือสำหรับใช้เขียนส่วนโค้ง หรือวงกลม ก่อนจะใช้วงเวียนควรจะปรับระยะไส้ดินสอให้เสมอกับหลักศูนย์กลาง และควรลับดินสอให้เอียงเพื่อสะดวกในการวัดระยะรัศมี และจะทำให้เขียนส่วนโค้งสะดวก วงเวียนที่ใช้งานในการเขียนแบบมีหลายลักษณะควรเลือกใช้วงเวียนให้เหมาะสมกับขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลมที่จะเขียน เช่น1.8.1      วงเวียนวงกลมเล็ก (BOW COMPASS)        เป็นวงเวียนสำหรับใช้เขียนวงกลมที่มีรัศมีไม่เกิน 15 มิลลิเมตร วงเวียนชนิดนี้ใช้แรงสปริง และสกรูเป็นตัวปรับขนาดความกว้างของรัศมี
    ภาพที่1.16 ลักษณะวงเวียนเขียนวงกลมเล็ก
1.82        วงเวียนเขียนวงกลมโต  (LARGE COMPASS)      เป็นวงเวียนที่ใช้งานมาตรฐานทั่วไป ออกแบบสำหรับใช้เขียนวงกลมขนาดใหญ่ซึ่งไม่สามารถเขียนด้ายวงเวียนแบบ  BOW COMPASS  ได้     ภาพที่ 1.17 ลักษณะของวงเวียนวงกลมโต

1.83            วงเวียนคาน (BEAM COMPASS)              เป็นวงเวียนที่ออกแบบสำหรับใช้เขียนวงกลมขนาดใาหญ่ซึ่งไม่สามารถเขียนด้วยวงเวียนธรรมดาได้
      ภาพที่ 1.18  ลักษณะวงเวียนคาน 1.9   วงเวียนวัดระยะ (DIVIDERS)
        วงเวียนวัดระยะมีรูปร่างลักษณะคล้ายกับวงเวียนที่นำใช้งานเขียนแบบทั่วไปแต่ปลายขาวงเวียนจะเป็นปลายแหลมทั้งสองข้างใช้สำหรับวัดระยะจากเครื่องมือวัดแล้วนำไปถ่ายขนาดลงบนแบบงาน หรือใช้เส้นตรงออกเป็นส่วน ๆ กัน    ภาพที่ 1.19  การใช้งานวัดระยะแบ่งเส้น


   ภาพที่ 1.20  ลักษณะของดินสอที่ใช้งานในวงเวียน 1.10            ปากการเขียนแบบ (DRAWING PEN)        ปากกาเขียนแบบ เป็นเครื่องมือที่ใช้เขียนใาห้เป็นเส้นหรือสัญลักษณ์สำหรับกระดาษเขียนแบบที่เป็น
กระดาษไข ปากกาเขียนแบบประกอบด้วยหลอด และปลายเข็มใช้สำหรับเขียนเส้นที่มีขนาดความหนาของเส้นจะเพิ่มขึ้นตามอนุกรมก้าวหน้าเรขาคณิตคูณด้วย
 กระดาษไข ปากกาเขียนแบบประกอบด้วยหลอด และปลายเข็มใช้สำหรับเขียนเส้นที่มีขนาดความหนาของเส้นจะเพิ่มขึ้นตามอนุกรมก้าวหน้าเรขาคณิตคูณด้วย 
    ภาพที่ 1.21  ขนาดของเส้นที่เขียนจากปากกา1.11            ดินสอเขียนแบบ (DRAWING PENCIL)        ดินสอเขียนแบบเป็นเครื่องมือที่ใช้ขีดให้เป็นเส้นบนกระดาษเขียนแบบ ดินสอเขียนแบบมี 2 ชนิด คือ ดินสอเปลือกไม้และดินสอแบบเปลี่ยนไส้ได้ ส่วนที่สำคัญที่สุดของดินสอเขียนแบบคือ ไส้ดินสอ ซึ่งดินสอ ซึ่งทำจากกราไฟต์ (GRAPHITE) โดยนำมาอัดให้เป็นแท่งโดยให้มีความแข็งอ่อนของไส้แบ่งเป็นกรดต่าง เพื่อให้เหมาะสมกับการนำไปใช้ในงานเขียนแบบ
   ภาพที่ 1.22  ลักษณะของดินสอเขียนแบบ เกรด  B, HB, F           ใช้สำหรับเขียนเส้นรอบรูป  ตัวเลข  ตัวอักษรเกรด  H, 2H                 ใช้สำหรับเขียนเส้นบอกขนาด เส้นช่วยบอกขนาด เส้นตัดเกรด  3H,5H                ใช้สำหรับร่างแบบ 
   ภาพที่ 1.23  การแบ่งเกรดของไส้ดินสอ

1.12                เครื่องเหลาดินสอ (PENCIL SARPENERS)        เครื่องเหลาดินสอเป็นอุปกรณ์มาตรฐานที่ใช้ในงานเขียนแบบ  เพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงานโดยเครื่องเหลาจะเหลาปอกเฉพาะเปลือกไม้ออกโดยจะปล่อยไส้ดินสอเปลือยไว้เพื่อสามารถนำไปทำการเหลาเป็นรูปร่างตามต้องการ   ภาพที่ 1.24  เครื่องเหลาดินสอ   1.12            อุปกรณ์ทำความสะอาด
        อุปกรณ์ทำความสะอาดในงานเขียนแบบด้วยมือ ประกอบด้วย ยางลบ แปรงปัดเศษยางลบ และแผ่น
กันลบ เป็นต้น
 กันลบ เป็นต้น  ภาพที่ 1.25  แปรงปัดเศษยางลบและอุปกรณ์ทำความสะอาด

1.13            ยางลบรูปร่างโดยทั่ว ๆ ไปของยางลบจะเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมผืนผ้า โดยยางลบแบ่งออกเป็น 3 ชนิด คือ1.       ยางลบดินสอ2.       ยางลบหมึก3.       ยางลบพลาสติกควรเลือกใช้ยางลบตามวัสดุที่ใช้ เช่น เมื่อใช้หมึกควรใช้ยางลบหมึกลบด้วยแรงกดเบาๆ และต้องระมัดระวังด้วย เพราะว่าความเสียดทานที่เกิดจากความเร็วของการลบ อาจจะทำให้ผิวหน้างานเขียนแบบเสียหายได้
       ภาพที่1.26  ยางลบ  2.มาตรฐานในการเขียนแบบ 2.1  กระดาษเขียนแบบ2.2  เส้นต่าง ๆ ที่ใช้ในงานเขียนแบบ2.3  การเขียนตัวอักษร  2.  มาตรฐานในการเขียนแบบ การเขียนแบบจัดเป็นกลุ่มของผู้เชี่ยวชาญช่างเทคนิคเป็นอาชีพที่เกี่ยวข้องกับงานด้านทฤษฎีและปฏิบัติ  ช่างเทคนิคที่เขียนแบบจะถ่ายทอดความคิด  และการสเกตซ์ของวิศวกรสถาปนิกมาเป็นรายละเอียดในงานเขียนแบบ  และการระบุรายการในงานเขียนแบบเพื่อให้เข้าใจตรงกันระหว่างผู้สั่งงานกับผู้ปฏิบัติงาน  จึงมีการกำหนดมาตรฐานในงานเขียนแบบขึ้น
 ความหมายของมาตรฐานมาตรฐาน  หมายถึง  ข้อกำหนดหรือข้อตกลงกันระหว่างผู้ผลิต  และผู้ใช้เพื่อสร้างความเข้าใจให้ตรงกันเกี่ยวกับขนาดรูปร่าง น้ำหนัก  และส่วนผสมของวัสดุอย่างใดอย่างหนึ่งที่ทำการผลิตขึ้นจากแหล่งผลิตต่าง ๆ ให้มีคุณสมบัติและคุณภาพเหมือนกันสามารถนำมาใช้สับเปลี่ยนทดแทนกันได้
 2.1    กระดาษเขียนแบบ กระดาษเขียนแบบมีหลายขนาด  ผู้เขียนสามารถเลือกใช้ขนาดของกระดาษเขียนแบบให้เหมาะสมกับขนาดของแบบที่ต้องการ  ขนาดของกระดาษเขียนแบบในระบบ  SI unit  หรือระบบเมตริก  ขนาดของกระดาษ  A0  จะมีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้า  โดยมีพื้นที่  1  ตารางเมตร  มีความกว้าง  : ความยาว  คือ  
(1
 : 1.141)  ดังแสดงในภาพที่  2.1
(1 : 1.141)  ดังแสดงในภาพที่  2.1
 https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256140684573/home/m/%E0%B8%A11.bmp  ภาพที่  2.1  แสดงวิธีการคำนวณหาขนาดของกระดาษ  A0
  https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256294229702/home/m/%E0%B8%A1%20%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B9%80%E0%B8%A8%E0%B8%A9.jpg     กระดาษเขียนแบบ  A0  ถ้านำไปแบ่งครึ่งออกไปเรื่อย ๆ กระดาษจะเล็กลงครึ่งหนึ่ง  จากกระดาษมาตรฐาน  A0  จะเปลี่ยนเป็นขนาด  A1, A2, A3 และ  A4  ตามลำดับ  โปรดสังเกตกระดาษ  A1  จะมีพื้นที่น้อยกว่ากระดาษ  A0  จำนวน 1  เท่า  และกระดาษ  A2  จะมีพื้นที่น้อยกว่ากระดาษ  A1  จำนวน  1  เท่า  เป็นสัดส่วนลงไปเรื่อย ๆ ดังแสดงในภาพที่  2.2 
https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256142267433/home/m/%E0%B8%A12.bmpภาพที่  2.2  แสดงสัดส่วนของกระดาษเขียนแบบตามมาตรฐานระบบเมตริกซึ่งมีอัตราส่วนความกว้าง : ความยาว  คือ
 เปรียบเทียบขนาดของกระดาษเขียนแบบระบบเมตริกและระบบอังกฤษ
  https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256142594826/home/m/%E0%B8%A13.bmp      2.2  การติดกระดาษ ในการติดกระดาษจะต้องติดกระดาษลงบนกระดาษเขียนแบบให้สนิท โดยใช้เทปกาว  ควรวางตำแหน่งของกระดาษเขียนแบบให้ใกล้กับขอบซ้ายมือของกระดานเขียนแบบ  เพื่อให้เกิดระยะผิดพลาดจากการเขียนแบบน้อยที่สุด  
https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256143698819/home/m/%E0%B8%A14.bmp
  ภาพที่  2.3  การติดกระดาษเขียนแบบ  2.3  ตารางรายการ 
เป็นตารางบอกรายละเอียดต่าง ๆ ของแบบ  เช่น ชื่อของแบบงาน  ชื่อผู้เขียนแบบ  มาตราส่วนชื่อบริษัทหรือสถานศึกษา  วัน/เดือน/ปี ที่เขียนแบบและหมายเลขแบบ  เป็นต้น  ตารางรายการนี้ถ้าใช้กระดาษเขียนแบบขนาด A4  สามารถแสดงไว้ด้านล่างตลอดความยาวของกระดาษ  แต่ถ้าใช้กระดาษ  A3  ซึ่งมีความยาวมาก  อาจเขียนไว้บริเวณมุมขวามือของกระดาษได้  ดังแสดงในภาพที่  2.4
   https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256144700254/home/m/%E0%B8%A15.bmp?height=240&width=613    ภาพที่  2.4  แสดงลักษณะและขนาดของตารางรายการของแบบ   https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256144828677/home/m/%E0%B8%A16.bmp   ภาพที่  2.5  แสดงลักษณะและขนาดของตารางรายการของแบบของกระดาษขนาด  A3
  3.  เส้น เส้นร่างแบบใช้เพื่อร่างแบบงานโดยเขียนอย่างเบาเพื่อที่จะได้ไม่ต้องเขียนอีกหรือเป็นการเข้าใจผิดกันเส้นอื่น ๆ  ในการเขียนแบบโดยทั่ว ๆ ไปชนิดของเส้นในงานวิศวกรรมมีอยู่หลายชนิด  ดังตารางแสดงชนิดของเส้น  ชื่อของเส้นและลักษณะการใช้งาน
  https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256145155076/home/m/%E0%B8%A17.bmp   ภาพที่ 2.6  ลักษณะของเส้นในการใช้งานเขียนแบบ 3.1.1          แสดงชนิดของเส้นการใช้งานและตัวอย่างการใช้งาน 
https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256145997573/home/m/%E0%B8%A18.bmp  https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256146778679/home/m/%E0%B8%A19.bmp    4.   การเขียนตัวอักษรและตัวเลข ข้อมูลในการเขียนแบบซึ่งไม่สามารถแสดงเป็นรูปทรงโดยเส้นอาจแสดงโดยกำหนดขนาดเป็นตัวเลข  ตัวอักษร  ซึ่งจะให้รายละเอียดในแบบงานได้อย่างครบถ้วนและมีความหมายที่สมบูรณ์  การเขียนตัวเลขและตัวอักษรเขียนได้หลาย ๆ วิธี  การเขียนด้วยมือ  การเขียนด้วยอุปกรณ์โดยใช้แผ่นแม่แบบ  เป็นต้นตัวอักษรระบบโกติกใช้วิธีเขียนแบบซิงเกิลสโตรค  (Single  Stroke  Gothic  Lettering)  มาตรฐานของตัวอักษรได้พัฒนาดัดแปลงรูปแบบของชุดตัวพิมพ์ตัวอักษรแบบโกติก  คำว่าชุดตัวพิมพ์  (front)  หมายถึง  การจำแนกหรือการจัดเป็นชุดเดียวกันในขนาดและรูปแบบของตัวอักษรและคำว่า  ซิงเกิลสโตรก  (Single-stroke)  มาจากหลักความจริงว่า  แต่ละตัวอักษรเขียนขึ้นด้วยเส้นตรงเดี่ยวหรือเส้นโค้งพื้นฐาน  ซึ่งทำให้ง่ายต่อการเขียนและสะดวกต่อการอ่าน  เหตุผลที่งานอุตสาหกรรมยอมรับการเขียนตัวอักษรรูปแบบนี้ก็เพราะว่าตัวอักษรชนิดเขียนได้เร็วมาก ตัวอักษรโกติกแบ่งออกเป็น ตัวอักษรพิมพ์ใหญ่ และตัวอักษรพิมพ์เล็ก(ตรงและเอียง)ดังรูป  4.1           การเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษ https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256147218031/home/m/%E0%B8%A110.bmp   ภาพที่  4.7  การเขียนอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่ตรงและตัวพิมพ์เล็กตรง 
 https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256147663423/home/m/%E0%B8%A111.bmp    ภาพที่  2.8  การเขียนอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์ใหญ่เอียงและตัวพิมพ์เล็กเอียง  การเขียนตัวอักษรและตัวเลขไทย  
https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256200233179/home/m/%E0%B8%A112.bmp
   ภาพที่  2.9  การเขียนตัวอักษรภาษาไทยและตัวเลข รูปแบบในการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวใหญ่ รูปแบบของการเขียนตัวอักษรตัวใหญ่นั้นบางกลุ่มมีอัตราส่วนระหว่างความกว้างต่อความสูงเท่ากันแต่ส่วนใหญ่แล้วจะมีอัตราส่วนระหว่างความกว้างต่อความสูง  คือ 5/6  แต่มีอยู่  1  ตัวที่มีความกว้างมากกว่าความสูง  นั่นก็คือ  ตัว  “W”  ดังแสดงในภาพที่  2.10  และภาพที่  2.11
 https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256200637853/home/m/%E0%B8%A113.bmp ภาพที่  2.10  แสดงอัตราส่วนระหว่างความกว้างต่อความสูงของตัวอักษรตัวตรง 
  https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256200817156/home/m/%E0%B8%A114.bmp   ภาพที่  2.11  แสดงอัตราส่วนระหว่างความกว้างต่อความสูงของตัวอักษรตัวเอียง   ตัวอักษรพิมพ์ตัวเล็กตัวอักษรพิมพ์เล็กนั้นประกอบด้วย  3  ส่วน  คือ  ส่วนหลักซึ่งอยู่ตรงกลาง  ส่วนบน  และส่วนล่าง  โดยส่วนหลักจะมีความสูงเป็น  2/3  ของความสูงของตัวอักษรนำ  ถ้าส่วนหลักเป็น  2/3  ของตัวอักษรนำส่วนบนและส่วนล่างก็จะเป็น  1/6  ของอักษรนำ  ดังแสดงในภาพที่  2.12  และ  2.13
  https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256201036925/home/m/%E0%B8%A115.bmp ภาพที่  2.12  แสดงโครงสร้างของอักษรตัวพิมพ์เล็ก  
 https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256211835756/home/m/%E0%B8%A115.jpg   ภาพที่  2.13  แสดงขั้นตอนการเขียนตัวอักษรภาษาอังกฤษตัวพิมพ์เล็ก    5.  มาตราส่วน มาตราส่วน  (scale)  โดยทั่ว ๆ ไปจะอยู่ใต้ภาพของชิ้นงานหรืออยู่ภายในบล็อคของกระดาษเขียนแบบเป็นการยากที่จะเขียนแบบขนาดเต็มเท่ากับชิ้นงานจริง  เช่น  เครื่องบิน  อาคารสิ่งก่อสร้าง  เป็นต้น  จึงจำเป็นต้องมีการลดขนาดโดยใช้มาตราส่วนย่อ  ในทางตรงกันข้ามกัน  ชิ้นส่วนเล็ก ๆ เช่น เฟืองนาฬิกา  ก็ต้องขยายภาพเพื่อให้ได้รายละเอียดที่ชัดเจน  จึงต้องมีการใช้มาตราส่วนขยายมาตราส่วนที่นิยมใช้ในงานเขียนแบบเครื่องกล  คือ1.       มาตรฐานส่วนเต็ม  เช่น  มาตราส่วน  1:1
   https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256212020361/home/m/%E0%B8%A116.jpg   ภาพที่ 2.14  มาตราส่วนเต็ม  1 :1
   2.       มาตราส่วนย่อ  เช่น  มาตราส่วน  1:2  1:5  1:10  หรือ  1:1000  เป็นต้น 
 https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256212655511/home/m/%E0%B8%A117.jpg   ภาพที่ 2.15  มาตราส่วน  1 :2   3.       มาตราส่วนขยาย  เช่น  มาตราส่วน  2:1  5:1  10:1 เป็นต้น 
 https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256448670670/home/m/%E0%B8%A118..jpg  ภาพที่ 2.16  มาตราส่วนขยาย  2:1
  ตัวอย่างมาตราส่วนเต็ม  มาตราส่วนขยาย  และมาตราส่วนย่อ
 
https://sites.google.com/site/chaowpreeya/_/rsrc/1256215503253/home/m/%E0%B8%A119.jpg     ตารางแสดงการเปรียบเทียบมาตราส่วน 
มาตราส่วน
ขนาดงานจริง
ขนาดที่เขียนลงในแบบงาน
1 :1
2 :1
5 :1
10 :1
1 :2
1 :5
1 :10
10
10
20
50
100
5
2
1
20
20
40
100
200
10
4
2
30
30
60
150
300
15
6
3
 สัญลักษณ์ของหน่วยในระบบเมตริก                             การแปลงหน่วยระบบเมตริกเป็นระบบนิ้วมิลลิเมตร        =          มม.                         1  มิลลิเมตร         =             0.03937      นิ้วเซนติเมตร       =          ซม.                         1  เซนติเมตร       =             0.3937        นิ้วเดซิเมตร         =          ดม.                         1  เมตร                 =             39.37           นิ้วเมตร              =          ม.                           1  กิโลเมตร          =             0.6214        ไมล์

https://sites.google.com/site/chaowpreeya/home/m 3.การสร้างรูปเรขาคณิต 3.1  การสร้างเส้นในรูปต่าง ๆ3.1  การสร้างรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า3.2  การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส3.4  การสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า3.5  การสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า3.6  การสร้างรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า3.7  การสร้างรูปวงรี หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 การสร้างรูปทรงเรขาคณิต           รูปทรงของชิ้นงานที่นำมาเขียนเป็นแบบงานในงานเขียนแบบเทคนิคล้วนแล้วแต่มีการนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาใช้และนำมาประยุกต์เพื่อเขียนเป็นรูปทรงของแบบงาน ดังนั้น ผู้ที่จะทำการเขียนแบบงานจึงจำเป็นที่จะต้องเรียนรู้และฝึกหัดการเขียนรูปทรงทางเรขาคณิตพร้อมทั้งการนำเอารูปทรงต่าง ๆ ทางเรขาคณิตมาประยุกต์ใช้ในการเขียนแบบงานรูปทรงเรขาคณิตที่นำมาประยุกต์ใช้ในงานเขียนแบบมีอยู่มากมายหลายแบบด้วยกัน ซึ่งในแต่ละชนิดจะมีวิธีการเขียนและการสร้างที่แตกต่างกันออกไป เราสามารถที่จะแบ่งชนิดและวิธีในการสร้างรูปทรงทางเรขาคณิต เพื่อนำมาประยุกต์ใช้ในงานเขียนแบบดังต่อไปนี้      ภาพที่ 3.1 แสดงการนำเอารูปทรงเรขาคณิตมาใช้ในงานเขียนแบบ  3.1 การสร้างเส้นในรูปแบบต่าง ๆ    3.1.1 การสร้างเส้นขนาน  สามารถสร้างได้หลายวิธีดังนี้          วิธีที่ 1 โดยการใช้ไม้ทีและบรรทัดสามเหลี่ยม                                  


ภาพที่ 3.2 แสดงการเขียนเส้นขนานโดยการใช้ไม้ทีและบรรทัดสามเหลี่ยม                   ขั้นตอนการสร้าง·       ใช้ไม้ทีวางเป็นฐานบนโต๊ะเขียนแบบ·       นำบรรทัดสามเหลี่ยมมาวางชนกับขอบของไม้ที·       ลากเส้นตรงตามขอบของบรรทัดสามเหลี่ยมตามตำแหน่งที่ต้องการ·       เลื่อนบรรทัดสามเหลี่ยม แล้วลากเส้นตรงอีกเส้นให้ขนานกับเส้นเดิม          วิธีที่ 2 โดยการใช้วงเวียนเขียนส่วนโค้ง        ภาพที่ 3.3 การเขียนเส้นขนานโดยการใช้วงเวียนเขียนส่วนโค้ง                  ขั้นตอนการสร้าง·       ลากเส้นตรงหรือเส้นโค้งตามระยะที่กำหนด·       กางวงเวียนให้ได้ระยะเท่ากับระยะห่างระหว่างเส้นขนานสองเส้น·       ใช้จุดศูนย์กลาง 2 จุดหรือหลายจุด บนเส้นตรงหรือเส้นโค้ง ให้มีระยะห่างกันพอสมควร        เขียนส่วนโค้งตามที่ต้องการ·       ใช้บรรทัดสามเหลี่ยมหรือไม้ที ลากเส้นสัมผัสส่วนโค้ง จะได้เส้นตรงอีกเส้นหนึ่งที่ขนานกับเส้นเดิม     3.1.2  การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรงที่ทำมุมกัน สามารถสร้างได้หลายวิธี ดังนี้           วิธีที่ 1 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรงที่ทำมุมเป็นมุมฉาก        ภาพที่ 3.4 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรงที่ตั้งฉากกัน                  ขั้นตอนการสร้าง·       เขียนเส้นตรง  2  เส้น ทำมุมฉากซึ่งกันและกัน·       กางวงเวียนให้ได้รัศมีเท่ากับรัศมีของส่วนโค้งที่จะทำการสร้าง·       ใช้จุด B เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนส่วนโค้งตัดกับเส้นทั้งสองที่จุด D  และจุด E ·       ใช้ จุด D  และจุด E  เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนรัศมีเท่าเดิม เขียนส่วนโค้งสัมผัสกับแขนเส้นประกอบมุมฉากทั้งสองข้าง            วิธีที่ 2 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นที่ไม่ใช่มุมฉาก     ภาพที่ 3.5  การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นที่ไม่ใช่มุมฉาก                  ขั้นตอนการสร้าง·       เขียนเส้นตัดทำมุมกันตามที่กำหนด·       กางวงเวียนรัศมีเท่ากับส่วนโค้งที่จะทำการสร้าง เขียนส่วนโค้ง·       ลากเส้นสัมผัสส่วนโค้งขนานกับเส้นที่ทำมุมกันทั้งสองข้าง·       ลากเส้นเริ่มต้นที่จุดตัดของส่วนโค้งให้ตั้งฉากกับเส้นทั้งสอง·       ใช้จุดตัดของเส้นขนานเป็นจุดศูนย์กลาง เขียนส่วนโค้งสัมผัสเส้นทั้งสอง    3.1.3 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสระหว่างส่วนโค้งกับเส้นตรง     ภาพที่ 3.6 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสระหว่างส่วนโค้งกับเส้นตรง                 ขั้นตอนการสร้าง·       เขียนส่วนโค้งและเส้นตรงตามขนาดที่กำหนด·       เขียนส่วนโค้งโดยใช้จุดศูนย์กลางเดียวกับส่วนโค้งที่กำหนด โดยใช้รัศมีของส่วนโค้งที่กำหนด (R1) บวกกับรัศมีส่วนโค้งที่จะทำการสร้าง (R2)·       สร้างเส้นขนานกับเส้นตรงให้ตัดกับส่วนโค้งที่สร้างขึ้นมา·       เขียนเส้นตรงโดยมีจุดเริ่มต้นที่ส่วนที่ตัดกันและให้ตั้งฉากกับส่วนโค้งและเส้นตรงที่กำหนด·       ใช้จุดตัดระหว่างส่วนโค้งกับเส้นตรงเป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งสัมผัสส่วนโค้งและเส้นตรง    3.1.4 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสส่วนโค้ง 2 เส้น     ภาพที่ 3.7 แสดงการสร้างส่วนโค้งสัมผัสส่วนโค้ง 2 เส้น                 ขั้นตอนการสร้าง·       เขียนส่วนโค้งตามขนาดที่กำหนดทั้ง 2 ส่วนโค้ง·       เขียนส่วนโค้งโดยใช้จุดศูนย์กลางเดียวกับส่วนโค้งทั้งสอง โดยใช้รัศมีของส่วนโค้งที่กำหนด(R1, R2) บวกกับรัศมีของส่วนโค้งที่จะเขียนสัมผัส (R3) เป็นรัศมีในการเขียนส่วนโค้งทั้งสอง·       เขียนเส้นตรงโดยเริ่มต้นที่ส่วนที่ตัดกัน เขียนให้ตั้งฉากกับส่วนโค้งทั้งสอง·       ใช้จุดตัดของส่วนโค้งทั้งเป็นจุดศูนย์กลางในการเขียนส่วนโค้งสัมผัสระหว่างส่วนโค้งที่กำหนดทั้งสอง    3.1.5 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสล้อมรอบส่วนโค้ง 2 เส้น     ภาพที่ 3.8  การสร้างส่วนโค้งสัมผัสล้อมรอบส่วนโค้ง 2 เส้น                 ขั้นตอนการสร้าง·       เขียนส่วนโค้งทั้งสองตามขนาดที่กำหนด·       เขียนส่วนโค้งโดยใช้จุดศูนย์กลางเดียวกันกับส่วนโค้งที่กำหนดทั้งสอง ส่วนรัศมีใช้ขนาดของรัศมีของส่วนโค้งที่จะสร้าง (R3) ลบด้วยรัศมีของส่วนโค้งที่กำหนดแต่ละเส้น (R1, R2) ·       ลากเส้นตรงจากส่วนโค้งที่ตัดกัน ตั้งฉากกับส่วนโค้งทั้งสอง·       ใช้จุดตัดของส่วนโค้งที่สร้างขึ้นมาใหม่ในการสร้างส่วนโค้งสัมผัสระหว่างส่วนโค้งทั้งสอง    3.1.6 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสส่วนบนและส่วนล่างของส่วนโค้ง 2 เส้น     ภาพที่ 3.9 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสส่วนบนและส่วนล่างของส่วนโค้ง 2 เส้น                 ขั้นตอนการสร้าง·       เขียนส่วนโค้งตามที่กำหนดทั้ง 2 เส้น·       สร้างส่วนโค้งโดยใช้จุดศูนย์กลางเดียวกับส่วนโค้งที่กำหนดทั้งสอง โดยที่รัศมีของส่วนโค้งที่จะสัมผัสด้านล่าง ให้ใช้รัศมีของส่วนโค้งที่จะสร้างบวกกับรัศมีของส่วนโค้งที่กำหนด และส่วนโค้งที่จะสัมผัสด้านบน ให้เอารัศมีส่วนโค้งที่จะสร้างสัมผัสลบด้วยรัศมีของส่วนโค้งที่กำหนด·       ลากเส้นตรงจากจุดที่ส่วนโค้งตัดกัน ตั้งฉากกับส่วนโค้งทั้งสอง·       สร้างส่วนโค้งสัมผัสบนและล่างของส่วนโค้งกำหนด โดยใช้จุดตัดของส่วนโค้งเป็นจุดศูนย์กลาง    3.1.7 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรง 3 เส้น     ภาพที่ 3.10  การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรง 3 เส้น                 ขั้นตอนการสร้าง·       เขียนเส้นตรงทั้ง  3  เส้น ตามขนาดและระยะที่กำหนด·       สร้างเส้นตรงขึ้นมา 3 เส้น โดยให้ตั้งฉากกับเส้นตรงที่กำหนดทั้ง 3 เส้น และให้บริเวณปลายของเส้นที่สร้างตัดกัน·       ใช้จุดตัดของเส้นตรงที่สร้างขึ้นมาใหม่เป็นจุดศูนย์กลางในการสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นทั้งสามในแต่ละจุด3.1.8 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรงที่ขนานกัน 2 เส้น     ภาพที่ 3.11 การสร้างส่วนโค้งสัมผัสเส้นตรงที่ขนานกัน 2 เส้น                 ขั้นตอนการสร้าง·       เขียนเส้นตรงตามที่กำหนดขนานกัน  2  เส้น·       ลากเส้นตรงต่อจากบริเวณปลายของเส้นขนานให้บรรจบกันทั้ง  2  เส้น·       กำหนดจุดศูนย์กลางของรัศมี (A) แล้วลากเส้นตรงตัดบริเวณจุดศูนย์กลาง·       ลากเส้นตรงโดยเริ่มต้นจากบริเวณปลายของเส้นขนานทั้งสองและให้ตั้งฉากกับเส้นขนาน·       ใช้จุดตัดของเส้นตั้งฉากทั้งสองเป็นจุดศูนย์กลางในการสร้างเส้นสัมผัสทั้งสองเส้น3.2 การสร้างรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า     ภาพที่ 3.12  การสร้างรูปสามเหลี่ยมด้านเท่า                 ขั้นตอนการสร้าง                กำหนดให้ ความยาวด้านของสามเหลี่ยมเท่ากับเส้นตรง S
·       เขียนเส้นตรงความยาวเท่ากับเส้นตรง S·       ใช้จุดปลายของเส้นตรง S เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งรัศมี R ต่อกันที่จุด O โดยที่ R       เท่ากับ S·       เขียนเส้นตรงจากจุด O มายังจุดปลายของเส้นตรง S จะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่าตามที่ต้องการ 3.3 การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส     วิธีที่ 1 โดยใช้วงเวียน     ภาพที่ 3.13  การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยใช้วงเวียน                 ขั้นตอนการสร้าง                กำหนดให้ AB เป็นความยาวของด้านสี่เหลี่ยมจัตุรัส·       สร้างเส้นตั้งฉากที่จุด A ได้  FA  ใช้จุด  A   เป็นจุดศูนย์กลาง กางวงเวียนรัศมี  AB   เขียนส่วนโค้งตัดกับเส้นตั้งฉาก   FA  ที่จุด  C·       ที่จุด B  และจุด  C   กางวงเวียนรัศมีเท่าเดิม เขียนส่วนโค้งตัดกันที่จุด  D   ลากเส้น  CD  และ  BD  จะได้ สี่เหลี่ยมจัตุรัสตามต้องการ      วิธีที่ 2  โดยใช้บรรทัดสามเหลี่ยม    ภาพที่ 3.14  การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสโดยใช้บรรทัดสามเหลี่ยม                 ขั้นตอนการสร้าง                กำหนดให้ AB เป็นความยาวของด้านสี่เหลี่ยมจัตุรัส·       ใช้บรรทัดสามเหลี่ยม 45  องศา  สร้างเส้นตรง AC  และ  BD  ทำมุม  45  องศา·       ใช้บรรทัดสามเหลี่ยมสร้างเส้นตรง AD  และ  BC  ตั้งฉากกับเส้นตรง  AB  โดยเส้นตรง AD  ตัดกับเส้นเอียง  BD  ที่จุด  D   และเส้นตรง  BC  ตัดกับเส้นเอียง  AC  ที่จุด  C ·       ลากเส้นตรง  DC  จะได้สี่เหลี่ยมจัตุรัสตามต้องการ 3.4 การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามแนวทแยงมุม     วิธีที่ 1     ภาพที่ 3.15  การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามแนวทแยงมุมนอกวงกลม                 ขั้นตอนการสร้าง·       สร้างวงกลมโดยใช้เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดเท่ากับความยาวของสี่เหลี่ยม·       ใช้บรรทัดสามเหลี่ยม 45  องศา  เขียนเส้นสัมผัสวงกลมทั้ง  4  ด้าน      วิธีที่ 2        ภาพที่  3.16 การสร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสตามแนวทแยงมุมในวงกลม                 ขั้นตอนการสร้าง·       สร้างวงกลมโดยให้เส้นผ่าศูนย์กลางมีขนาดเท่ากับความยาวของเส้นทแยงมุมรูปสี่เหลี่ยม·       ลากเส้นตรงต่อถึงกัน โดยใช้จุดตัดระหว่างเส้นรอบวงกับเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลม เป็นจุดกำหนดระยะ3.5 การสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า       ภาพที่ 3.17 แสดงการสร้างรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า ขั้นตอนการสร้างกำหนดให้  เส้นศูนย์กลางและวงกลมรัศมี R
·       เขียนเส้นผ่าศูนย์กลาง 2 เส้นตัดกันที่จุด O·       ใช้จุด O  เป็นจุดศูนย์กลาง เขียนวงกลม รัศมี  R  ตัดกับเส้นผ่าศูนย์กลางทั้ง 2·       แบ่งครึ่งเส้นตรง OD (R) ซึ่งจะได้จุดแบ่งครึ่งที่จุด C·       ใช้จุด C เป็นจุดศูนย์กลางเขียนเส้นโค้งรัศมี R 1 ตัดกับวงกลมและเส้นผ่านศูนย์กลางที่จุด A และ E ·       ใช้จุด A เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งรัศมี R 2 ผ่านจุด E และตัดกับวงกลมที่จุด B·       เขียนเส้นตรง AB ซึ่งเป็นด้าน ๆ หนึ่งของรูปห้าเหลี่ยมด้านเท่า·       กางวงเวียนออกรัศมี AB แบ่งวงกลมออกเป็น 5 ส่วนเท่าๆกัน·       เขียนเส้นตรงเชื่อมต่อจุดบนเส้นวงกลม จะได้รูปห้าเหลี่ยมด้านเท่าภายในวงกลมตามที่ต้องการ 3.6 การสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่า    วิธีที่ 1  การสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าภายในวงกลม     ภาพที่ 3.18  แสดงการสร้างรูปหกเหลี่ยมด้านเท่าภายในวงกลม ขั้นตอนการสร้างกำหนดให้ วงกลมรัศมี R
·       เขียนเส้นผ่านศูนย์กลางของวงกลม 2 เส้นตัดกันที่จุด 0·       ใช้จุดศูนย์เป็นจุดศูนย์กลางเขียนวงกลมรัศมี R·       ใช้จุด A และจุด D เป็นจุดศูนย์กลางเขียนส่วนโค้งรัศมี R ตัดกับวงกลมที่จุด B,F,C และ E·       เขียนเส้นตรงเชื่อมต่อจุด A,B,C,D,E และ F จะได้รูปหกเหลี่ยมด้านเท่าภายในวงกลมตามต้องการ        วิธีที่  2  การสร้างรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบวงกลม      ภาพที่ 3.19  แสดงการสร้างรูปหกเหลี่ยมล้อมรอบวงกลม                 ขั้นตอนการสร้าง                กำหนดให้ วงกลมรัศมีใด ๆ·       วางฉากสามเหลี่ยมมุม 30 และ 60 องศา ทางซีกซ้ายและขวาโดยให้สัมผัสกับวงกลม·       ลากเส้นตรงสัมผัสกับวงกลมและตัดกับเส้นผ่านศูนย์ในแนวนอนที่จุด C และ F·       ลากเส้นในแนวนอนโดยให้สัมผัสกับวงกลมและขนานกับเส้นผ่านศูนย์กลางไปตัดกับเส้นตรง AF และ BC ที่จุด A และ B ตามลำดับ·       ปฏิบัติตามข้อที่ 2 – 3 ในด้านตรงข้ามซึ่งจะได้จุดตัด D และ E·       เขียนเส้นตรงเชื่อมต่อจุด A, B, C, D, E และ F ตามต้องการ 3.7 การสร้างรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่า     วิธีที่ 1      ภาพที่ 3.20  แสดงการสร้างรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่าในวงกลม                 ขั้นตอนการสร้าง                         กำหนดให้ วงกลมรัศมีใด ๆ·       ใช้ฉากสามเหลี่ยมมุม 45 องศา ลากเส้นจากจุดศูนย์กลาง ( O ) เอียงทำมุม 45 องศาไปตัดกับวงกลมที่จุด B และ F ตามลำดับ·       ที่จุด B และ F ลากเส้นขนานกับเส้นผ่านศูนย์กลางในแนวนอนไปตัดกับวงกลมที่จุด Dและ H·       เขียนเส้นตรงเชื่อมต่อจุด A, B, C, D, E, F, G, และ H จะได้รูปแปดเหลี่ยมด้านเท่าตามต้องการ            วิธีที่ 2     ภาพที่ 3.21  แสดงการสร้างรูปแปดเหลี่ยมด้านเท่าจากรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส                 ขั้นตอนการสร้าง·       สร้างรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส ABCD โดยมีขนาดเท่ากับรูปแปดเหลี่ยมที่ต้องการ·       ลากเส้นทแยงมุม AC  และ  BD  ให้ตัดกันกึ่งกลางรูปสี่เหลี่ยม (จุด  O)·       ใช้มุม  A, B, C  และ D ของรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสในการเขียนส่วนโค้งทั้ง 4 เส้น โดยใช้รัศมีเท่ากับระยะจากจุดตัดของเส้นทแยงมุมถึงมุมของรูปสี่เหลี่ยม·       ลากเส้นต่อจุดระหว่างจุดตัดของส่วนโค้งกับเส้นขอบรูปสี่เหลี่ยมให้ครบทั้ง 8 จุด    3.8 การสร้างรูปวงรี     วิธีที่ 1 การสร้างวงรีด้วยวงแหวน 2 วง      ภาพที่ 3.22  แสดงการสร้างวงรีด้วยวงแหวน 2 วง                 ขั้นตอนการสร้าง              กำหนดให้ กำหนด AB  และ CD  เป็นเส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลม 2 วง·       ใช้จุด O  เป็นจุดศูนย์กลาง  รัศมี  OA  เขียนวงกลมใหญ่·       ใช้จุด O  เป็นจุดศูนย์กลาง รัศมี OC  เขียนวงกลมเล็ก·       ที่จุด O ลากเส้นทำมุม 30 และ 60 องศา ตัดกับส่วนโค้งวงกลม จะแบ่งวงกลมออกเป็น 12  ส่วนเท่า ๆ กัน·       ลากเส้นจากจุดตัดของวงกลมเล็ก และวงกลมใหญ่ ให้ตัดกันดังรูป 3 ได้จุดตัดที่จะเขียนวงรี ให้ทำแบบนี้ทั้ง 4 ด้าน·       ใช้บรรทัดส่วนโค้ง (Curve) ต่อเส้นโค้งสร้างวงรีผ่านจุดตัดต่าง ๆ จะได้วงรีดังรูปที่ 4  การต่อเส้นต้องต่ออย่างน้อย 3  จุด      วิธีที่ 2 การสร้างวงรีในสี่เหลี่ยมมุมฉากและสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน         ภาพที่ 3.23  แสดงการสร้างวงรีในสี่เหลี่ยมมุมฉากและสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูน                 ขั้นตอนการสร้าง                กำหนดให้  สี่เหลี่ยม  MLKJ  มาให้·       ลากเส้น  AB  และ  CD  แบ่งครึ่งด้านยาวและด้านสั้นของสี่เหลี่ยมโดย AB  และ  CD  ตัดกันที่จุด O·       แบ่ง  OA  ออกเป็น 5 ส่วนเท่า ๆ กัน และลากเส้นจากจุด D   ผ่านจุดแบ่งทั้ง 5  และไปตัดกับเส้นแบ่งด้าน  AJ  ได้จุดตัดรวม  4  จุด  ทำเช่นเดียวกันนี้ทั้ง  4  ส่วน·       ใช้บรรทัดโค้งทาบและลากเส้นโค้งสัมผัสจุดตัดเหล่านั้น จะได้วงรีภายในสี่เหลี่ยมมุมฉากหรือสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนตามต้องการ 4.การกำหนดขนาด 4.1  ส่วนประกอบของการกำหนดขนาด4.2  วิธีการในการกำหนดขนาด4.3  ลักษณะของมาตราส่วน  หน่วยการเรียนรู้ที่ 4 การกำหนดขนาดและมาตราส่วน                 ในแบบสั่งงาน (Drawing) ที่ใช้สำหรับการสร้างงานตามแบบ ผู้เขียนแบบจำเป็นต้องทำการแสดงรายละเอียดในแบบงานให้มีความสมบูรณ์ที่สุด เพื่อความสะดวกและถูกต้องในการนำเอาแบบงานดังกล่าวไปทำการสร้างงานตามแบบสั่งงานนั้น ๆ และสิ่งที่ขาดไม่ได้ที่ผู้เขียนแบบจำเป็นจะต้องเขียนเพื่อแสดงลงในแบบงานอีกสิ่งหนึ่ง เพื่อให้แบบงานมีความสมบูรณ์นั้นก็คือ การกำหนดขนาด (Dimension) ซึ่งจะเป็นการง่ายต่อการนำเอาแบบงานนั้นไปใช้งานในรูปแบบต่าง ๆ ผู้นำที่นำเอาแบบงานไปใช้งาน ไม่จำเป็นที่จะต้องมาทำการวัดขนาดหรือคำนวณระยะและมาตราส่วนจากแบบงาน ถึงแม้จะไม่มีตัวอย่างชิ้นงานจริงมาประกอบในการสร้างงานตามแบบ ถ้าแบบงานมีความสมบูรณ์ ผู้สร้างงานตามแบบก็จะสามารถที่จะสร้างงานได้อย่างถูกต้อง
 4.1 ส่วนประกอบของการกำหนดขนาด     การกำหนดขนาดจะประกอบไปด้วยส่วนต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    4.1.1 เส้นกำหนดขนาด
    4.1.2 เส้นช่วยกำหนดขนาด
    4.1.3 หัวลูกศร
    4.1.4 ตัวเลขและตัวอักษรบอกขนาด
    4.1.5 สัญลักษณ์บอกลักษณะงาน
       ภาพที่ 4.1  แสดงส่วนประกอบต่าง ๆ ของการกำหนดขนาด  4.2 ข้อกำหนดในการนำส่วนต่าง ๆ ของการกำหนดขนาดไปใช้งาน     4.2.1 เส้นกำหนดขนาด           ข้อกำหนดของเส้นกำหนดขนาด           1. เป็นเส้นเต็มบาง 

     ภาพที่ 4.2 แสดงลักษณะของเส้นกำหนดขนาด               2. เส้นกำหนดขนาดเส้นแรกจะอยู่ห่างจากขอบของชิ้นงานประมาณ  10  มิลลิเมตร             3. เส้นกำหนดขนาดเส้นถัดไปที่ขนานกัน จะอยู่ห่างกันเส้นละ   มิลลิเมตร 

   ภาพที่ 4.3 แสดงระยะห่างของเส้นกำหนดขนาด                  4. บริเวณปลายทั้งสองด้านของเส้นกำหนดขนาดจะมีลูกศรทึบ                    ภาพที่ 4.4 แสดงหัวลูกศรทึบทั้งสองด้าน                  5. ในกรณีที่พื้นที่ในการกำหนดขนาดน้อยเกินไปให้เขียนหัวลูกศรไว้ด้านนอก       ภาพที่ 4.5 การเขียนหัวลูกศรในกรณีที่มีพื้นที่การเขียนน้อย     4.2.2 เส้นช่วยกำหนดขนาด          ข้อกำหนดของเส้นช่วยกำหนดขนาด1. เป็นเส้นเต็มบาง 
     ภาพที่ 4.6 แสดงลักษณะของเส้นช่วยกำหนดขนาด  2. ส่วนปลายเส้นช่วยกำหนดขนาด จะลากเลยเส้นกำหนดขนาดประมาณ 1- 2 มิลลิเมตร     ภาพที่ 4.7 ส่วนปลายของเส้นช่วยกำหนดขนาด                   3. เส้นช่วยกำหนดขนาดแต่ละเส้นจะขนานกันและต้องทำมุมตั้งฉากกับเส้นกำหนดขนาด      ภาพที่ 4.8 แสดงตำแหน่งของเส้นช่วยกำหนดขนาด                  4. เส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลม สามารถนำมาใช้เป็นเส้นกำหนดขนาดได้โดยการลากเส้นบางต่อออกไป 
      ภาพที่ 4.9 แสดงการใช้เส้นผ่าศูนย์กลางของวงกลมเป็นเส้นช่วยกำหนดขนาด                  5. ในกรณีที่ต้องแสดงขนาดให้ชัดเจน อนุโลมให้สามารถลากเส้นช่วยกำหนดขนาดทำมุม 60 องศา ได้     ภาพที่ 4.10 การลากเส้นช่วยกำหนดขนาดทำมุม 60 องศา       4.2.3 หัวลูกศร          ข้อกำหนดของหัวลูกศร      ภาพที่ 4.11 แสดงหัวลูกศรที่ใช้ในการกำหนดขนาด   
                1. ขนาดของหัวลูกศร                                     ความยาวของหัวลูกศรมีค่าเป็น 5 เท่าของความหนาเส้นขอบชิ้นงาน                                สมมุติให้ความหนาของเส้นขอบชิ้นงานมีค่า = a ดังนั้น ความยาวของหัวลูกศรมีค่า = 5a ภาพที่ 4.12 ขนาดต่าง ๆ ของหัวลูกศร                  2. หัวลูกศรที่ใช้ในการกำหนดขนาดจะระบายสีดำทึบทั้งสองด้าน    ภาพที่ 4.13 แสดงหัวลูกศรที่ระบายสีดำทึบทั้งสองด้าน  4.2.4 ตัวเลขและตัวอักษร      ข้อกำหนดของตัวเลขและตัวอักษร                1. ใช้ตัวเลขและตัวอักษรตามมาตรฐานอุตสาหกรรม และในแบบงานเดียวกันควรเป็นตัวเลขและตัวอักษรขนาดและชนิดเดียวกัน ขนาดไม่ควรเล็กกว่า 3.5 มิลลิเมตร                2. ในการเขียนตัวเลขกำหนดขนาด ไม่ต้องเขียนหน่วยการวัด เช่น หน่วยวัดเป็นมิลลิเมตร ให้เขียนเฉพาะตัวเลขกำหนดขนาด     ภาพที่ 4.14 แสดงขนาดและการเขียนตัวเลขกำหนดขนาด                   3. ห้ามลากเส้นกำหนดขนาดตัดกับตัวเลขกำหนดขนาด และในกรณีที่ลากเส้นกำหนดขนาดตลอดให้เขียนตัวเลขกำหนดขนาดไว้บนเส้นกำหนดขนาดได้       ภาพที่ 4.15 การเขียนตัวเลขกำหนดขนาดและเส้นกำหนดขนาด                  4. ในกรณีที่ขนาดที่ถูกกำหนดไม่ได้มาตราส่วนจริงให้ขีดเส้นไว้ใต้ตัวเลข      ภาพที่ 4.16 แสดงการเขียนตัวเลขในการกำหนดขนาดที่ไม่ได้มาตราส่วนจริง                  5. ขนาดที่ต้องการตรวจสอบเป็นพิเศษให้วงรอบตัวเลขกำหนดขนาดไว้      ภาพที่ 4.17 แสดงการเขียนตัวเลขกำหนดขนาดที่ต้องการตรวจสอบขนาดเป็นพิเศษ      4.2.5 สัญลักษณ์บอกลักษณะงาน          สัญลักษณ์ในการเขียนแบบทางเทคนิคจะบอกให้ทราบลักษณะของชิ้นงานที่จะทำการเขียนลงในแบบงาน ซึ่งจะเป็นการสื่อความหมายระหว่างผู้ออกแบบ ผู้เขียนแบบและผู้นำเอาแบบงานไปใช้                1. การกำหนดขนาดชิ้นงานที่มีหน้าตัดเป็นวงกลม ให้เขียนสัญลักษณ์  Æ  



ภาพที่ 4.18 แสดงการเขียนสัญลักษณ์บอกรูปร่างชิ้นงานหน้าตัดวงกลม
                   2. การกำหนดขนาดชิ้นงานที่มีหน้าตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม จะใช้สัญลักษณ์    นำหน้าตัวเลขกำหนดขนาด   

ภาพที่ 4.19 แสดงการกำหนดขนาดชิ้นงานที่มีรูปร่างสี่เหลี่ยม


                                                                   3. การกำหนดขนาดของชิ้นงานทรงกลม ให้เขียนคำว่า ทรงกลม ไว้ตัวเลขกำหนดขนาด   


ภาพที่ 4.20 แสดงการกำหนดขนาดชิ้นงานที่มีรูปร่างเป็นทรงกลม
    4.3 วิธีการในการกำหนดขนาด     การกำหนดเป็นการแสดงรายละเอียดในเรื่องขนาดและรูปร่างของแบบงาน ดังนั้น เพื่อให้ผู้ออกแบบ ผู้เขียนแบบและผู้ที่นำเอาแบบงานไปใช้งานมีความเข้าใจถูกต้องและสื่อความหมายได้ตรงกัน จึงต้องมีหลักการและวิธีการในการกำหนดขนาด เพื่อให้มีความถูกต้องและตรงตามมาตรฐานสากล                   1. ส่วนต่าง ๆ ของการกำหนดขนาด เช่น เส้นกำหนดขนาด เส้นช่วยกำหนดขนาด เป็นต้น ควรที่จะเขียนอยู่บริเวณด้านนอกของแบบงาน       ภาพที่ 4.21 แสดงการเขียนเส้นกำหนดขนาดและเส้นช่วยกำหนดขนาด                  2. การกำหนดระยะในกรณีที่เส้นช่วยกำหนดขนาดมีความต่อเนื่องกัน ในการเขียนเส้นช่วยกำหนดขนาด จะต้องเขียนอยู่ในระดับเดียวกันตลอด      ภาพที่ 4.22  แสดงการกำหนดขนาดแบบต่อเนื่อง                   3. การกำหนดขนาดที่อยู่ในทิศทางเดียวกัน จะให้เส้นกำหนดขนาดเส้นแรกเป็นฐานของเส้นช่วยกำหนดขนาดเส้นต่อไป และจะขนานต่อเนื่องกันไปเรื่อย ๆ      ภาพที่ 4.23  แสดงการกำหนดขนาดจากน้อยไปมาก                   4. การกำหนดขนาดของแบบงานที่แสดงในหลายด้าน ให้กำหนดขนาดในด้านที่มองเห็นอย่างชัดเจน ส่วนด้านที่มองไม่เห็น ซึ่งแสดงด้วยเส้นประ ไม่ควรกำหนดขนาดถ้าไม่จำเป็น
    ภาพที่ 4.24  แสดงการกำหนดขนาดด้านที่มองเห็นชัดเจน                   5. ปลายของลูกศรเส้นกำหนดขนาดที่ชนกับขอบรูป ต้องไม่สัมผัสกับจุดที่เป็นมุมของชิ้นงาน      ภาพที่ 4.25  แสดงการกำหนดขนาดที่ใช้ขอบงานช่วย                   6. ในกรณีการกำหนดขนาดของเส้นผ่าศูนย์กลาง ที่ชิ้นงานมีเนื้อที่จำกัด ให้เขียนเส้นกำหนดขนาดไว้ด้านนอก      ภาพที่ 4.26  แสดงการกำหนดขนาดชิ้นงานเนื้อที่จำกัด                   7. การกำหนดขนาดส่วนของวงกลมหรือส่วนโค้ง จะกำหนดโดยใช้ลูกศรชี้ด้านเดียวไปยังส่วนของเส้นโค้งและศูนย์กลางของรัศมี จะแทนด้วยจุดหรือวงกลมเล็ก ๆ การกำหนดขนาดจะมีอักษร R นำหน้าตัวเลขกำหนดขนาด      ภาพที่ 4.27  แสดงการกำหนดขนาดวงกลมหรือส่วนโค้ง                   8. การกำหนดขนาดในพื้นที่ตัด ให้เว้นลายตัดบริเวณตัวเลขกำหนดขนาด      ภาพที่ 4.28  แสดงการกำหนดขนาดในพื้นที่แสดงลายตัด                   9. กรณีแบบงานมีความสมมาตรกัน การกำหนดขนาด จะใช้เส้นกำหนดขนาดเพียงครึ่งเดียวและใช้หัวลูกศรด้านเดียว เพื่อความสะดวกและชัดเจนในการอ่านรายละเอียดของแบบงาน      ภาพที่ 4.29  แสดงการกำหนดขนาดชิ้นงานที่สมมาตรกัน                   10. การกำหนดแบบงานที่เป็นขอบเอียง ให้กำหนดขนาดโดยกำหนดเป็นมุมเอียงหรือบอกขนาดด้านที่สัมผัสกั          ภาพที่ 4.30  แสดงการกำหนดขนาดผิวงานเอียง   จากข้อกำหนดต่าง ๆ และส่วนประกอบของการกำหนดขนาดที่ได้กล่าวมาแล้ว ล้วนแต่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้ในงานเขียนแบบ  ดังนั้น ในการที่จะนำเอาส่วนต่าง ๆ มาใช้งานในการเขียนแบบจะต้องนำมาใช้ให้ตรงตามข้อกำหนด เพื่อให้แบบงานมีความถูกต้องชัดเจนตรงตามมาตรฐาน ของการเขียนแบบ      ภาพที่  4.31  แสดงการกำหนดขนาดในแบบงานจริง   4.4 ลักษณะของมาตราส่วน                การแสดงแบบงานลงบนกระดาษเขียนแบบ เพื่อให้เกิดความชัดเจนและความถูกต้องในรายละเอียดต่าง ๆ ของแบบงาน จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการย่อหรือขยายขนาดของวัตถุเพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับขนาดของกระดาษเขียนแบบที่ใช้ในการแสดงแบบงาน เช่น ในกรณีที่เราเขียนแบบบ้าน ถ้าเราใช้ขนาดเท่ากับงานจริง เราก็ไม่สามารถที่จะหากระดาษมาใช้ในการเขียนแบบงานได้ ดังนั้น เราจึงต้องมีการย่อขนาดของวัตถุลง หรือในกรณีที่วัตถุที่มีขนาดเล็กมาก ๆ ซึ่งถ้านำมาเขียนแบบก็จะเป็นการยากต่อการเขียนแบบหรือการนำเอาแบบงานไปใช้งานต่อไป เราจึงจำเป็นที่จะต้องทำการขยายแบบงาน เพื่อให้ความสะดวกในการทำงาน                ดังนั้น ในการย่อหรือขยายขนาดแบบงาน จึงมีความจำเป็นในการเขียนแบบ แต่ในการย่อหรือขยายขนาดของแบบงาน เราจะต้องคำนึงถึงรูปร่างและขนาดของวัตถุเป็นหลัก ซึ่งเราจะเรียกการย่อหรือขยายขนาดของแบบงานที่มีขนาดและรูปร่างที่ถูกต้องนี้ว่า มาตราส่วน                มาตราส่วนที่ใช้ในงานเขียนแบบจะแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะด้วยกัน ได้แก่              4.4.1 มาตราส่วนจริง  จะใช้ในกรณีที่ขนาดของวัตถุมีความเหมาะสมกับขนาดของกระดาษเขียนแบบ ขนาดที่ใช้ในการเขียนแบบจะมีค่าเท่ากับขนาดของงานจริง มาตราส่วนที่ใช้ ได้แก่ 1:1    
                               


ภาพที่ 4.32  เปรียบเทียบขนาดของวัตถุที่ใช้ในการเขียนแบบและขนาดจริงของวัตถุ

                                             4.4.2 มาตราส่วนย่อ  จะใช้ในกรณีที่ขนาดของวัตถุมีรูปร่างใหญ่เกินไป ดังนั้น เพื่อให้เกิดความสะดวกในการเขียนแบบวัตถุ จึงต้องทำการย่อขนาดของวัตถุให้เหมาะสมกับกระดาษเขียนแบบ มาตราส่วนที่ใช้ ได้แก่ 1:2, 1:5, 1:10, 1:20, 1:50, 1:100, 1:200, 1:500, 1:1000                                       ภาพที่ 4.33  แสดงการเปรียบเทียบขนาดที่ใช้ในการเขียนแบบและขนาดจริงของวัตถุใน                                               มาตราส่วนย่อ                   4.4.3 มาตราส่วนขยาย ใช้ในกรณีที่วัตถุที่นำมาเขียนแบบมีขนาดเล็กจนเกินไป ทำให้ยากต่อการเขียนและการนำแบบงานไปใช้ ดังนั้น จึงต้องมีการขยายขนาดของวัตถุ เพื่อเขียนลงในกระดาษเขียนแบบ มาตราส่วนที่ใช้ ได้แก่ 2:1, 5:1, 10:1                                       ภาพที่ 4.34  เปรียบเทียบขนาดที่ใช้ในการเขียนแบบและขนาดจริงของวัตถุในมาตราส่วนขยาย                                                       ภาพที่ 4. 35  เปรียบเทียบขนาดของแบบงานที่ใช้มาตราส่วนในแต่ลักษณะ 



ความหมายของการสเกตภาพ


การสเกตภาพ  หมายถึง  การเขียนภาพโดยไม่ใช้เครื่องมือเขียนแบบช่วย  จะเขียนภาพโดยใช้มือเปล่า  (FREE HAND) โดยการลากเส้นขึ้นเป็นชิ้นงานอย่างหยาบ ๆ จากความคิดหรือจินตนาการของวิศวกรผู้ออกแบบ เพื่อนำไปใช้เขียนแบบที่มีรายละเอียดต่าง ๆ สมบูรณ์ตามมาตรฐานต่อไป
ดินสอที่ใช้ในการสเกตภาพนั้นควรใช้เกรด  HB  หรือ F  โดยจับดินสอให้ห่างจากปลายดินสอประมาณ  30-40  มิลลิเมตรขณะที่ลากเส้นสเกตภาพควรหมุนดินสอตามไปด้วย  เพื่อทำให้ปลายดินสอแหลมอยู่เสมอ  ทำให้เส้นที่ลาดคม  ชัดเจน  นำหนักของเส้นที่ใช้ในการลากเส้น  ในการสเกตภาพมี  2  ระดับคือ
เส้นหนัก            ใช้เขียนเส้นรอบรูป  เส้นประ  เส้นแนวตัด
เส้นเบา               ใช้เขียนเส้นศูนย์กลาง  เส้นบอกขนาด  เส้นช่วยบอกขนาด


  

ลักษณะการจับดินสอในการสเกตภาพ


การลากเส้นในการสเกตภาพ

สำหรับผู้ที่มีความชำนาญอาจจะใช้กระดาษธรรมดาทำการสเกตรูปงาน  ส่วนที่ยังไม่มีความชำนาญควรทำการสเกตภาพลงบนกระดาษ  สำหรับใช้ในงานสเกตภาพ  โดยเฉพาะจะทำให้การลากเส้นต่าง ๆ ของงาน  และสัดส่วนของภาพถูกต้อง  โดยกระดาษสำหรับใช้งานสเกตภาพจะพิมพ์เป็นตาราง  ซึ่งจะทำให้การสเกตภาพสะดวกขึ้น

การลากเส้นตรง

การลากเส้นตรงสำหรับการสเกตภาพ  เป็นการลากเส้นโดยใช้ความชำนาญของผู้ปฏิบัติงาน  จึงควรปฏิบัติโดยสม่ำเสมอ  เส้นตรงที่ใช้ในงานสเกตภาพมีหลายลักษณะดังนี้

เส้นตรงในแนวนอน  การลากเส้นตรงในแนวนอน  ควรต้องกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้าย  แล้วจึงลากเส้นจากทางซ้ายมือไปทางขวามือ  ถ้าต้องการลากเส้นที่มีความยาวมากควรลากเส้นสั้น ๆ ต่อ ๆ  กันจะง่ายกว่าการลากเส้นยาว


  

เส้นตรงแนวดิ่ง   การลากเส้นตรงแนวดิ่ง  ควรลากเส้นจากบนลงมาล่าง  โดยใช้นิ้วแตะขอบกระดานสเกตจะช่วยทำให้ลากเส้นแนวดิ่งมีความตรงมากขึ้น







เส้นตรงแนวเฉียง   การลากเส้นตรงแนวเฉียงมีวิธีการลากเส้นเช่นเดียวกับการลากเส้นตรงแนวนอน  ควรกำหนดจุดเริ่มต้นและจุดสุดท้ายแล้วจึงลากเส้นตรงแนวเฉียง  เริ่มจากบนลงล่างหรือจากล่างขึ้นบนได้ทั้ง  2  วิธี




การลากเส้นโค้งหรือวงกลม
การลากเส้นโค้งหรือกลม  นับว่าเป็นการเขียนที่ยากมาก  ดังนั้นจึงต้องมีการฝึกหัดและเขียนอยู่อย่างสม่ำเสมอ  จะทำให้เกิดความเชี่ยวชาญ  และปฏิบัติได้โดยไม่ยากนัก  การลากเส้นโค้งหรือวงกลมสามารถทำได้หลายวิธี
การสเกตวงกลมวิธีที่  1  โดยเขียนรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส  หาจุดกึ่งกลางของด้านที่วงกลมสัมผัส  ลากเส้นทแยงมุม  กำหนดจุดประมาณที่เส้นรอบวงจะผ่านบนเส้นทแยงมุม  จากนั้นเขียนส่วนโค้งผ่านจุดที่กำหนด  จะเกิดเป็นรูปวงกลม





การสเกตภาพวงกลมจากรูปสี่เหลี่ยม


การสเกตวงกลมวิธีที่  2  โดยการลากเส้นผ่าศูนย์กลาง  แล้วกำหนดจุดประมาณที่เส้นรอบวงของวงกลมจะผ่าน  เขียนส่วนโค้งผ่านจุดที่กำหนดจะเกิดเป็นรูปวงกลม






การสเกตภาพวงกลมจากเส้นผ่าศูนย์กลาง

การสเกตวงกลมวิธีที่  3  โดยการใช้กระดาษวัดระยะรัศมีที่ต้องการเขียนบนกระดาษแล้วนำไปทาบบนกระดาษสเกต  โดยให้ด้านหนึ่งอยู่ที่จุดศูนย์กลาง  อีกด้านอยู่ที่เส้นรอบวงหมุนกระดาษไปแล้วทำจุดเส้นประไปจนครบวงกลม  แล้วจึงลงเส้นหนักตามแนวเส้นประ  จะเกิดเป็นรูปวงกลม





การสเกตภาพวงกลมโดยใช้กระดาษ


การสเกตวงกลมวิธีที่  4  โดยหาหมุนกระดาษสเกต  ทำได้โดยใช้ปลายนิ้วก้อยจรดที่จุดศูนย์กลาง  แล้วใช้มืออีกข้างหมุนกระดาษสเกตไปเรื่อย ๆ จนได้รูปวงกลมตามต้องการ
    

   
  
การสเกตภาพวงกลมโดยการหมุนกระดาษ

การสเกตวงกลมโดยใช้ดินสอ  การสเกตวงกลมวิธีนี้จะใช้ดินสอ  2  แท่ง  โดยให้ดินสอจรดที่จุดศูนย์กลาง  ดินสออีกแท่งกำหนดที่ขีดเส้นรอบวงของวงกลมแล้วหมุนกระดาษไปเรื่อย ๆ จะเกิดเป็นรูปวงกลม





การสเกตภาพวงกลมโดยใช้ดินสอสองแท่ง


สเกตวงกลมขนาดใหญ่ โดยใช้นิ้วมือเป็นจุดศูนย์กลางของวงกลม  เช่นเดียวกับวงเวียนเขียนแบบ





การสเกตวงรี
การสร้างวงรีโดยเขียนรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า  ให้มีขนาดความกว้าง  ความยาว  เท่ากับขนาดของวงรีที่ต้องการ  แบ่งครึ่งที่ด้านทั้งสี่ของรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าที่จุดกึ่งกลางของเส้น แล้วลากเส้นโค้งให้ต่อกันเป็นวงรี





การสเกตวงรี




การสเกตภาพสามมิติ

การสเกตภาพสามมิติ  มีจุดมุ่งหมายเพื่อถ่ายทอดข้อมูลจากความคิดหรือจินตนาการของวิศวกรผู้ออกแบบให้เป็นภาพสามมิติ  เพื่อให้ช่างเขียนแบบสามารถเห็นรูปร่างของงานได้ทั้ง ความกว้าง ความยาว และความหนา การสเกตภาพสามมิตินี้สามารถทำได้ทั้งแบบไอโซเมตริกและแบบออบลิค ขึ้นอยู่กับลักษณะการวางชิ้นงาน

การสเกตภาพออบลิคจากภาพสามมิติ

1.       สเกตภาพด้านหน้าตามที่กำหนด
2.       สเกตภาพตามความลึกของชิ้นงานทำมุม 45  องศา  กับแนวนอน
3.       ลบเส้นร่างที่ไม่ใช้ออกจากรูปงาน
4.       ลงเส้นเต็มหนักที่เส้นขอบรูป




แสดงลำดับภาพการสเกตภาพออบลิค

การสเกตออบลิคจากภาพฉาย
1.       เขียนรูปกล่องสี่เหลี่ยมตามหลักการเขียนภาพ  OBLIQUE  โดยมีขนาดกำหนด
2.       สเกตรายละเอียดต่าง ๆ ตามภาพฉาย
3.       ลบเส้นที่ร่างออก  แล้วลงเส้นเต็มหนักของขอบชิ้นงาน






แสดงลำดับเส้นการสเกตภาพ  OBIQUE  จากภาพฉาย

การสเกตภาพไอโซเมตริกจากภาพสามมิติ
1.       เขียนรูปกล่องสี่เหลี่ยมโดยวางภาพลักษณะไอโซเมตริก
2.       แบ่งระยะเขียนรายละเอียดของภาพให้ครบตามแบบงานที่กำหนด
3.       ลบเส้นที่ไม่ใช้ออกจากแบบรูปงาน
4.       ลงเส้นเต็มหนักที่เส้นขอบงาน



  
แสดงลำดับขั้นตอนสเกตภาพจากภาพสามมิติ









การสเกตภาพไอโซเมตริกจากภาพฉาย
1.             เขียนรูปกล่องสี่เหลี่ยมมีขนาดกรอบนอกของรูปตามภาพฉาย  โดยวางแกนภาพตามหลัก  ISOMETRIC 
2.             สเกตผิวหน้างานด้านต่าง ๆ ตามรายละเอียดในภาพฉาย
3.             ลบเส้นที่ไม่ใช้ออกจากรูปงาน
4.             ลงเส้นเต็มหนักที่เส้นขอบงาน




แสดงลำดับขั้นการสเกตภาพจากภาพฉาย



ไม่มีความคิดเห็น: