การตรวจสอบงานเชื่อมครั้งที่1 ในการเรียนวันนี้จะให้ศึกษาบทความ
การทดสอบโดยไม่ทำลายในประเทศไทย (Non-Destructive Test: NDT in Thailand)
แล้วทำแบบทดสอบหลังเรียนต่อไป
การทดสอบโดยไม่ทำลายในประเทศไทย (Non-Destructive Test: NDT in Thailand)
การทดสอบโดยไม่ทำลาย หมายถึง การทดสอบหาความบกพร่องหรือความผิดปกติของชิ้นงาน รอยเชื่อมของชิ้นงาน โดยที่ไม่ต้องทำลายชิ้นงานเพื่อการทดสอบ ไม่ทำให้ชิ้นงานเกิดการเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ขนาด หรือสมรรถนะ กล่าวคือเป็นการตรวจสอบคุณสมบัติทางฟิสิกส์ เช่น แสง ความร้อน รังสี คลื่นเสียง ไฟฟ้า หรือแม่เหล็กของวัสดุ ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงไปตามความผิดปกติของโครงสร้างภายในหรือรอยบกพร่องที่มีอยู่ การวัดคุณสมบัติเหล่านี้จะสามารถประเมินความผิดปกติของโครงสร้างภายในหรือรอยบกพร่องที่มีอยู่ได้โดยไม่ทำให้วัดสุเกิดความเสียหาย การทดสอบโดยไม่ทำลายมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์ โดยเฉพาะชิ้นงานที่มีต้นทุนการผลิตสูงและผลิตทีละชิ้นตามสั่ง นอกจากนี้ยังใช้ในการตรวจสอบรอยบกพร่องของอุปกรณ์และโครงสร้างทั่วไป ทั้งก่อนการใช้งาน (Pre-Service) ระหว่างการใช้งาน (On service) และตรวจสอบระหว่างหยุดโรงงาน (Plant shutdown) เพื่อประเมินอายุการใช้งาน
ข้อดีของการทดสอบโดยไม่ทำลาย
· ชิ้นงานไม่ได้รับความเสียหายใดๆ หลังการทดสอบแล้วสามารถนำชิ้นงานกลับมาใช้ได้ตามปกติ
· ตรวจสอบในขณะใช้งานได้
· การตรวจสอบชิ้นงานตามระยะเวลาการใช้งาน จะทำให้ทราบการเปลี่ยนแปลงของสภาพชิ้นงานหลังผ่านการใช้งานแล้ว
· อุปกรณ์มีความสะดวกในการเคลื่อนย้าย สามารถออกงานภาคสนามได้
· สามารถใช้ในการปรับปรุงเทคนิคการผลิต เช่น ใช้วิธีการทดสอบโดยไม่ทำลายตรวจสอบงานเชื่อมแบบต่างๆ และเลือกใช้วิธีการเชื่อมที่ได้คุณภาพมาตรฐานที่เหมาะสมสำหรับการใช้งาน เป็นต้น
· ช่วยลดต้นทุนการผลิต เนื่องจากช่วยลดของเสียระหว่างการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
การทดสอบโดยไม่ทำลายสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1) การทดสอบโดยไม่ทำลายแบบดั้งเดิม (Conventional NDT) เช่นการทดสอบโดยการใช้รังสี และอนุภาคแม่เหล็ก เป็นต้น ซึ่งเป็นวิธีที่ใช้กันมายาวนาน ยังคงได้รับความนิยมและมีประสิทธิภาพอยู่ในปัจจุบัน
2) การทดสอบโดยไม่ทำลายที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูง (Advanced NDT) ซึ่งเป็นวิธีการตรวจสอบที่ใช้เทคโนโลยีและเครื่องมือที่มีความหลากหลายและซับซ้อนมากขึ้น มีข้อดีคือใช้บุคลากรน้อย ระยะเวลาในการทดสอบน้อยกว่า รวดเร็วกว่า นอกจากนี้ยังสามารถให้ผลที่ชัดเจนและครอบคลุมกว่า และในปัจจุบันความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีทำให้ธุรกิจต้องมีการปรับตัวไปสู่ Advanced NDT มากยิ่งขึ้นเนื่องจากสามารถใช้ในการทดสอบที่ซับซ้อนและมีข้อจำกัดในแบบที่การทดสอบแบบดั้งเดิมไม่สามารถทำได้ เช่น การตรวจสอบท่อส่งก๊าซที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่ เป็นต้น
การให้บริการทดสอบโดยไม่ทำลายแบบดั้งเดิมในประเทศไทยได้ขยายบริการสู่การทดสอบโดยใช้เทคโนโลยีชั้นสูง โดยในปัจจุบันสามารถให้บริการทดสอบโดยไม่ทำลายที่ได้รับความนิยมสูงสุดในอุตสาหกรรมทั้งหมด คือ
ประเภทของการทดสอบ
|
ชิ้นงานที่ทดสอบ
|
Conventional NDT
Radiographic Test: การทดสอบด้วยรังสี
เป็นการตรวจหารอยตำหนิภายในวัสดุ โดยใช้สารกัมมันตภาพรังสีและใช้แผ่นฟิล์มบันทึกข้อมูล เหมาะสำหรับใช้ตรวจสอบรอยบกพร่องที่อยู่ลึกเข้าไปตามแนวรังสี
|
การตรวจสอบรอยเชื่อม เช่นในโรงกลั่นน้ำมัน โรงงาน
ปิโตรเคมี ท่อขนส่ง เป็นต้น รวมทั้งการตรวจสอบความบาง (Thinning)และการสึกกร่อน |
Magnetic Particle Test: การทดสอบด้วยสนามแม่เหล็ก
เป็นการวัดรอยบกพร่องบริเวณผิววัสดุโดยการใช้การเหนี่ยวนำจากสนามแมเหล็กจากไฟฟ้ากระแสตรงหรือกระแสสลับ
|
การตรวจสอบรอยเชื่อม เช่นในโรงกลั่นน้ำมัน โรงงาน
ปิโตรเคมี ท่อขนส่ง เป็นต้น |
Penetrant Test: การทดสอบด้วยสารแทรกซึม
เป็นการใช้การฉีดสีลงบนพื้นผิววัสดุและทำความสะอาดสีบนผิววัสดุเพื่อตรวจสอบดูรอยแตกของผิววัสดุด้วยตาเปล่า หรือภายใต้แสง Black Light
|
การตรวจสอบรอยเชื่อม เช่นในโรงกลั่นน้ำมัน โรงงาน
ปิโตรเคมี ท่อขนส่ง เป็นต้น |
Ultrasonic Test: การทดสอบด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง
เป็นการตรวจสอบโดยการใช้คลื่นเสียงเพื่อวัดความหนาและค้นหาจุดบกพร่องที่เกิดขึ้นในเนื้อวัสดุ
|
การตรวจสอบรอยเชื่อม เช่นในโรงกลั่นน้ำมัน โรงงาน
ปิโตรเคมี ท่อขนส่ง เป็นต้น และงานวัดความหนาทุกชนิด |
Hardness Test: การทดสอบความแข็ง
เป็นการทดสอบความแข็งของโลหะในการต้านทานต่อการแปรรูปถาวร ซึ่งมีประโยชน์ในการนำมาออกแบบภาชนะรับแรงดันต่างๆ
|
การตรวจสอบรอยเชื่อม เช่นในโรงกลั่นน้ำมัน โรงงาน
ปิโตรเคมี ท่อขนส่ง เป็นต้น |
Positive Material Identification Test:การทดสอบหาส่วนผสมทางเคมี
เป็นการตรวจสอบเพื่อบอกชนิดส่วนประกอบทางเคมีของวัสดุซึ่งมีความจำเป็นของโลหะในงานอุตสาหกรรม
|
ตรวจวิเคราะห์ส่วนผสมของโลหะ
|
Vacuum Test: การทดสอบด้วยวิธีสุญญากาศ
เป็นการตรวจสอบรอยรั่วของรอยปิดผนึกโดยใช้เทคนิคความแตกต่างของความดันภายในกับภายนอกบรรจุภัณฑ์
|
ตรวจสอบรอยรั่วตามแนวเชื่อม และบริเวณของพื้นถังบรรจุน้ำมัน หรือชิ้นงานที่เข้าถึงได้เพียงด้านเดียว
|
เป็นการตรวจสอบเพื่อหารอยที่เคลือบไมเรียบรอยซึ่งจะทําใหความชื้นหรือนํ้าซึมผ่านได้
|
ตรวจความสมบูรณ์ของการเคลือบวัสดุที่ไม่เป็นตัวนำที่เคลือบบนวัสดุโลหะที่เป็นตัวนำไฟฟ้า
|
Advanced NDT
Acoustic Emission Test:การตรวจสอบด้วยคลื่นเสียงอะคูสติก
เป็นการตรวจสอบหารอยรั่วหรือการเป็นสนิมของอุปกรณ์
|
ถังเก็บผลิตภัณฑ์ แนวเชื่อมในถัง (Aboveground storage tank, Pressure Vessel) และตรวจหารอยรั่วของวาวล์
|
Eddy Current:การตรวจสอบโดยใช้กระแสไหลวน
เป็นการตรวจคัดแยกความสมบูรณ์ของท่อสเตนเลส และอื่นๆที่ไม่ใช่เหล็กคาร์บอน
|
ภาชนะผลัดความร้อน (Heat exchanger) และ condenser ทีใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
|
Remote Field Eddy Current:
เป็นการตรวจคัดแยกความสมบูรณ์ของท่อเหล็กคาร์บอน
|
ภาชนะผลัดความร้อน (Heat exchanger) และ condenser ทีใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
|
Magnetic Flux Leakage:
เป็นการตรวจคัดแยกความสมบูรณ์ของท่อเหล็กคาร์บอนที่มีครีบระบายความร้อน
|
ภาชนะผลัดความร้อน (Heat exchanger) และ condenser ทีใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
|
Internal Rotating Immersion System:
เป็นการตรวจวัดความสมบูรณ์ของท่อขนาดเล็กที่ทำจากโลหะต่างๆจากภายใน
|
ภาชนะผลัดความร้อน (Heat exchanger) และ condenser ทีใช้ในอุตสาหกรรมปิโตรเลียม
|
การให้บริการทดสอบโดยไม่ทำลายชิ้นงานต่างๆตามที่ลูกค้ากำหนด โดย NDT ซึ่งใช้สำหรับทดสอบความสมบูรณ์ของการติดตั้งหรือการเชื่อมวัสดุ มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดในอุตสาหกรรมที่ต้องการความปลอดภัยสูง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมพลังงาน เช่น การวางท่อก๊าซธรรมชาติ การตรวจสอบระบบท่อและถังในโรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ แท่นขุดเจาะน้ำมัน โรงงานไฟฟ้า เป็นต้น
ลักษณะลูกค้าในไทยส่วนใหญ่เป็นผู้รับเหมาที่ต้องการให้บริษัทตรวจสอบคุณภาพของงานแต่ละงาน และมีลูกค้าบางส่วนที่เป็นเจ้าของโครงการโดยตรงที่ใช้บริการอย่างต่อเนื่องเพื่อการตรวจสอบคุณภาพตามระยะเวลา จัดทำสัญญาระยะยาว มีการจัดทำประเมินผลความพึงพอใจของลูกค้าทุกรายสำหรับการให้บริการของพนักงาน คุณภาพมาตรฐานการตรวจสอบ ความรวดเร็วในการให้บริการ ความปลอดภัย ฯลฯ และนำข้อคิดเห็นของลูกค้ามาใช้ประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพการให้บริการอย่างสม่ำเสมอ ทำให้สามารถรักษาฐานลูกค้าเดิมไว้ได้อย่างต่อเนื่อง รวมทั้งได้รับการติดต่องานจากลูกค้ารายใหม่ๆอยู่เสมอ
การทดสอบแบบไม่ทำลายนี้จะมีการรายงานผลการตรวจสอบตามมาตรฐานสากลพร้อมหลักฐานหรือข้อมูลประกอบ เช่น ฟิล์มเอ็กซ์เรย์ สำหรับการตรวจสอบโดยวิธีถ่ายภาพด้วยรังสี เป็นต้น ซึ่งเป็นการรายงานความสมบูรณ์หรือบกพร่องของชิ้นงานตามผลการตรวจสอบจริงที่เกิดขึ้น แต่มิได้เป็นการรับประกันหรือรับรองว่าชิ้นงานที่ตรวจสอบนั้นยังอยู่ในสภาพที่เหมาะสมสำหรับการใช้งานหรือไม่
มาตรฐานสากล (Standard and Code) ที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบโดยไม่ทำลาย
การทดสอบโดยไม่ทำลายนั้นมีวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่สุดคือการป้องกันมิให้โครงสร้างทางวิศวกรรมต่างๆเกิดความเสียหายอันจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตและทรัพย์สิน โดยอุตสาหกรรมที่เป็นกลุ่มเป้าหมายคืออุตสาหกรรมขนาดใหญ่ที่มีความเสี่ยงในการทำงานสูง และมีโอกาสเกิดอันตรายร้ายแรงในวงกว้างหากเกิดความผิดพลาด เช่น อุตสาหกรรมพลังงานและอุตสาหกรรมปิโตรเคมี เป็นต้น ดังนั้นเพื่อความน่าเชื่อถือในระดับสากล การทดสอบโดยไม่ทำลายจึงถูกควบคุมโดยมาตรฐานที่กำหนดโดยสมาคมหรือองค์กรระดับประเทศต่างๆ ซึ่งแต่ละสมาคมจะกำหนดวิธีการตรวจสอบโดยไม่ทำลายแต่ละประเภทขึ้นมาเป็นมาตรฐานของตนเอง ตัวอย่างองค์กรหรือสถาบันวิชาชีพสำคัญในต่างประเทศที่มีการกำหนดมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการทดสอบโดยไม่ทำลายมีดังต่อไปนี้
· American Society of Nondestructive Testing (ASNT )
· American Petroleum Institute (API)
· Certified Welding Inspector (CWI)
· American Welding Society (AWS)
· Pressure Equipment Directive 97/23/EC (PED)
· Certified Scheme for Welding and Inspection Personnel (CSWIP)
นอกเหนือจากมาตรฐานในการทดสอบแล้ว สมาคมเหล่านี้ยังมีการกำหนดระดับทักษะของบุคลากรผู้ตรวจสอบ โดยบุคลากรจะต้องได้รับการอบรม ทดสอบความรู้ และได้รับใบรับรองหรือประกาศนียบัตรตามระดับขั้นที่กำหนดไว้จึงจะสามารถทำการทดสอบตามมาตรฐานได้ เช่นบุคลากรที่ผ่านการอบรมและทดสอบตามมาตรฐานของสมาคม ASNT จะมีทั้งหมด 3 ระดับ
ระดับที่ 1 จะสามารถทำการทดสอบและบันทึกผลได้ตามวิธีการที่กำหนด สำหรับ
ระดับที่ 2 บุคลากรมีอำนาจในการตัดสินหรือประเมินให้ชิ้นงานผ่านหรือไม่ผ่านการทดสอบ ส่วนบุคลากรที่ผ่านการทดสอบ
ในระดับที่ 3 ซึ่งเป็นระดับสูงสุด จะมีอำนาจในการเลือกวิธีการทดสอบ สามารถจัดการฝึกอบรมพร้อมทั้งออกใบรับรองให้กับบุคลากรในระดับที่ 1 และ 2 ได้
(2) การตรวจสอบเพื่อรับรองคุณภาพงาน (Inspection & Certification)
การตรวจสอบเพื่อรับรองคุณภาพงาน เป็นกระบวนการที่ต่อเนื่องหรือต่อยอดจากการทดสอบโดยไม่ทำลาย ซึ่งทำโดยใช้วิธีการทดสอบประเภทต่างๆ รวมถึงการทดสอบโดยไม่ทำลายในการตรวจสอบชิ้นงาน และประมวลผลการทดสอบพร้อมทั้งออกรายงานเพื่อรับรองสภาพการใช้งานของชิ้นงาน ซึ่งจะมีการให้ข้อสรุปว่าชิ้นงานนั้นๆมีสภาพเหมาะสมสำหรับการใช้งานหรือไม่ การตรวจสอบสามารถทำได้ทั้งการตรวจสอบรับรองชิ้นงานแต่ละชิ้นงาน โดยดำเนินการในระหว่างการผลิตใหม่ที่โรงงานผู้ผลิต หรือในระหว่างการติดตั้ง ณ สถานที่ใช้งาน รวมทั้งดำเนินงานภายหลังการใช้งาน เช่นการตรวจสอบและรับรองคุณภาพประจำปีสำหรับถังบรรจุก๊าซ หรือการตรวจสอบรวมทั้งระบบ เช่น การตรวจสอบโรงงาน (Plant Inspection Service) เป็นต้น ลูกค้าหลักสำหรับบริการตรวจสอบและรับรองคุณภาพแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. ลูกค้าที่ต้องการการรับรองตามกฎหมาย เช่น ตรวจสอบเพื่อรับรองถังบรรจุ (LPG NGV ถังบรรจุน้ำมัน ถังบรรจุสารเคมี เป็นต้น) หม้อไอน้ำ ภาชนะความดันประเภทต่างๆ และอื่นๆ
2. ลูกค้าที่เป็นโรงงานอุตสาหกรรมที่ต้องการความปลอดภัยสูง เช่น โรงกลั่นน้ำมัน โรงแยกก๊าซ โรงงานปิโตรเคมี แท่นขุดเจาะน้ำมัน ที่ต้องการตรวจสอบและรับรองคุณภาพโรงงานตามมาตรฐานการผลิตและการซ่อมบำรุง
การให้บริการตรวจสอบและรับรองคุณภาพมีข้อดีที่สำคัญคือมีความแน่นอนของรายได้สูง ลูกค้าส่วนใหญ่ใช้บริการตรวจสอบประจำปีอย่างต่อเนื่องโดยจัดทำเป็นสัญญาระยะยาว อาทิ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) บริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) บริษัท เชฟรอนประเทศไทยสำรวจและผลิต จำกัด เป็นต้น นอกจากนี้ธุรกิจนี้ยังมีศักยภาพในการเติบโตในอนาคตสูง สาเหตุหลักจากการขยายตัวของการใช้พลังงานจากก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจำเป็นต้องมีการตรวจสอบคุณภาพของถังบรรจุ ทั้งถังติดตรึงและถังที่ใช้ในการขนส่ง และอื่นๆตามที่กฎหมายกำหนด
บริษัทตรวจสอบในไทยมีการตรวจสอบเพื่อรับรองคุณภาพเครื่องมือและอุปกรณ์ต่างๆดังต่อไปนี้
· ถังอัดความดันสูง (Pressure Vessel) ที่ใช้เก็บก๊าซอุตสาหกรรม อาทิ ไนโตรเจนเหลว คาร์บอนไดออกไซด์เหลว คลอรีนเหลว เป็นต้น
· ถังก๊าซธรรมชาติอัด (Compressed Natural Gas) และถังติดตรึง (Fixed Tank) เพื่อจัดทำประวัติ และรับรองคุณภาพแท็งก์ขนส่งตามข้อกำหนดของสำนักควบคุมวัตถุอันตราย กรมโรงงานอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
· ถังเก็บผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียม (Aboveground Storage Tank) เช่น ถังเก็บน้ำมัน
· หม้อไอน้ำแบบท่อไฟ (Fire Tube Boiler) และหม้อไอน้ำแบบท่อน้ำ (Water Tube Boiler)
· ปั้นจั่นแบบเคลื่อนที่และแบบติดตั้งกับที่ (Crane and Lifting Equipment)
· การตรวจสอบรอยเชื่อมและตรวจรับรองฝีมือช่างเชื่อม (Welding / Welder Qualification Test)
· ถังเก็บและจ่ายก๊าซ และถังขนส่งปิโตรเลียมเหลว (LPG) ซึ่งมีการให้บริการเฉพาะดังต่อไปนี้
o ทดสอบครบวาระ (ณ คลังก๊าซ ลานบรรจุก๊าซ สถานีบรรจุก๊าซ สถานีที่ใช้ก๊าซ เช่น โรงแรม โรงงาน สถานีบริการ ปั้มก๊าซ และทดสอบรถขนส่งก๊าซทางบก)
o ทดสอบจัดทำประวัติถังที่มีประวัติเดิมแต่ขาดอายุการใช้งาน
o ทดสอบเพื่อขออนุญาตประกอบกิจการบรรจุก๊าซ
o ทดสอบต่อใบอนุญาตประกอบกิจการ
o ทดสอบเพื่อการโอนใบอนุญาต เปลี่ยนตัวแทนค้าต่าง แก้ไขระบบท่อ
o ทดสอบกรณีเกิดอุบัติเหตุ แก้ไข เปลี่ยนแปลง
o ทดสอบถังก๊าซหุงต้ม (Cylinder)
o งานจัดทำแบบก่อสร้าง แบบติดตั้ง รายการคำนวณ เอกสารอื่นๆ รวมทั้งบริการติดต่อประสานงานและให้คำปรึกษายื่นเรื่องขออนุญาตต่อกรมธุรกิจพลังงานและหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้อง
การตรวจสอบและรับรองคุณภาพเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการบังคับใช้กฎหมายควบคุมความปลอดภัยของวัสดุอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับการผลิต การขนถ่ายเชื้อเพลิงและสารเคมีอันตราย ดังนั้นบริษัทฯจึงศึกษาติดตามการออกกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและตอบสนองความต้องการของลูกค้าได้อย่างครอบคลุมมากที่สุด
ทั้งนี้นอกจากการตรวจสอบรับรองตามปกติแล้ว บริษัทตรวจสอบในไทยยังได้จัดให้มีการทดสอบและประเมินผลการใช้งานของเครื่องมืออุปกรณ์ต่างๆที่มีความสำคัญในกระบวนการผลิต โดยติดตามการเปลี่ยนแปลง ความเสียหายและการเสื่อมสภาพที่เกิดขึ้นกับชิ้นงาน และนำมาประมวลผล ตัวอย่างเช่น ประมวลผลให้ลูกค้าทราบว่า ภายในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ชิ้นงานที่ตรวจสอบมีความเสียหายหรือเสื่อมสภาพเพิ่มขึ้นมากน้อยเพียงใด และประเมินได้ว่าหากชิ้นงานมีการเสื่อมสภาพในอัตราเดิม ชิ้นงานนั้นๆจะสามารถใช้งานอย่างปลอดภัยได้อีกนานเท่าใด ซึ่งข้อมูลเหล่านี้เป็นประโยชน์อย่างมากสำหรับลูกค้า เช่น ทำให้สามารถจัดลำดับความสำคัญในการบำรุงรักษาเครื่องมือแต่ละชิ้น สามารถวางแผนการซ่อมบำรุงประจำปีได้อย่างมีประสิทธิภาพ เป็นต้น นอกจากนี้ในบางกรณีลูกค้าสามารถใช้ผลการตรวจสอบเป็นเครื่องยืนยันสำหรับการขอลดเบี้ยประกันภัยได้อีกด้วย
นอกจากนี้บริษัทฯยังมีการให้บริการประเมินความเสี่ยงของเครื่องจักรและอุปกรณ์ต่างๆด้วยหลักการ Risk Based Inspection (RBI) เพื่อกำหนดความถี่ วิธีการทดสอบ และความเข้มงวดในการทดสอบเครื่องจักรและอุปกรณ์ โดย RBI จะทำให้การตรวจสอบมีประสิทธิภาพมากขึ้นและสามารถลดค่าใช้จ่ายได้โดยการลดความถี่การตรวจสอบอุปกรณ์ที่มีความเสี่ยงต่ำ และลดภาระเบี้ยประกันภัยของโรงงานที่นำวิธีการนี้มาใช้
การจัดทำประกันภัยสำหรับความเสียหายจากการปฏิบัติงาน
บริษัทตรวจสอบในไทยมีการจัดทำประกันภัยบุคคลที่สามกรณีการเกิดอุบัติเหตุต่อบุคคลและทรัพย์สินเป็นวงเงินรวมหลายล้านบาท เพื่อป้องกันความเสี่ยงในกรณีเกิดความผิดพลาดจากการปฏิบัติงาน และนอกจากนี้ยังมีการจัดทำประกันภัยเพิ่มเติมสำหรับลูกค้าบางรายที่มีการปฏิบัติงานนอกชายฝั่ง (Offshore) โดยเป็นการประกันภัยแบบ Workman Compensation ซึ่งจะคลอบคลุมอุบัติเหตุเฉพาะที่อาจเกิดขึ้น เช่น อุบัติเหตุจากการเดินทางโดยเฮลิคอปเตอร์ เป็นต้น อย่างไรก็ตาม ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา บริษัทตรวจสอบในไทยยังไม่เคยมีกรณีเกิดความเสียหายจากการปฏิบัติงานซึ่งนำไปสู่การเรียกร้องเงินประกันแต่อย่างใด
ใบรับรองที่เกี่ยวข้องกับการตรวจสอบและรับรองคุณภาพ
ขั้นตอนการให้บริการตรวจสอบและรับรองคุณภาพ ประกอบด้วย
(1) การทดสอบชิ้นงานโดยใช้วิธีการทดสอบโดยไม่ทำลาย และ
(2) การประเมินผลเพื่อรับรองสภาพการใช้งานของชิ้นงาน ดังนั้นใบรับรองที่เกี่ยวข้องจะแบ่งเป็น 2 ขั้นตอนเช่นกัน คือ
- ใบรับรองสำหรับการทดสอบโดยไม่ทำลาย และ
- ใบรับรองสำหรับการตรวจสอบและรับรองคุณภาพซึ่งถือเป็นงานควบคุมทางด้านวิศวกรรม ดังนั้นบุคลากรที่สามารถออกใบรับรองคุณภาพของชิ้นงานได้นั้นต้องเป็นบุคลากรที่ขึ้นทะเบียนกับสภาวิศวกรสำหรับใบประกอบวิชาชีพวิศวกรควบคุมระดับสามัญวิศวกรขึ้นไป โดยระดับของวิศวกรควบคุมจะแบ่งออกได้เป็น 4 ระดับคือ
· ภาคีวิศวกรพิเศษ
· ภาคีวิศวกร
· สามัญวิศวกร
· วุฒิวิศวกร (ระดับสูงสุด)
ทั้งนี้ขอบเขตของงานที่แต่ละระดับสามารถทำได้แตกต่างกันออกไป ตามที่กำหนดในกฎกระทรวงฉบับที่ 3 และ 4 (พ.ศ. 2508) ออกตามความในพระราชบัญญัติวิชาชีพวิศวกรรม พ.ศ. 2505 ตามมาตรา 79 ของพระราชบัญญัติวิศวกร พ.ศ. 2542 เช่น ภาคีวิศวกร สามารถทำงานออกแบบและคำนวณ ส่วนสามัญวิศวกร สามารถควบคุมและตรวจสอบงานติดตั้ง และวุฒิวิศวกรสามารถทำงานวิศวกรรมได้ทุกรูปแบบ อย่างไรก็ตามขอบเขตการทำงานของวิศวกรควบคุมแต่ละระดับในรายละเอียดก็จะแตกต่างกันตามสาขาวิศวกรรม
นอกจากการขึ้นทะเบียนบุคลากรแล้ว บริษัทตรวจสอบในไทยที่ให้บริการตรวจสอบและรับรองก็ต้องมีการขึ้นทะเบียนด้วยเช่นกัน โดยเฉพาะการตรวจสอบที่ถูกควบคุมโดยกฎหมาย เช่นการตรวจสอบถังก๊าซแอลพีจี เป็นต้น ซึ่งหน่วยงานของภาครัฐ เช่น กรมธุรกิจพลังงาน สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ จะเป็นผู้ควบคุมขั้นตอนในการฝึกอบรมบุคลากรไปจนถึงการออกใบรับรองหรือประกาศนียบัตรให้กับบุคลากร และขึ้นทะเบียนให้กับบริษัทผู้ตรวจสอบด้วย
บริษัทตรวจสอบในไทยควรมีนโยบายพัฒนาบุคลากรอย่างต่อเนื่องในบุคลากรด้านการทดสอบโดยไม่ทำลาย
ใบรับรองที่บริษัทตรวจสอบในไทยได้รับควรกำหนด วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียนและอายุการใช้งาน
หน่วยงานที่ให้การรับรอง
|
ชื่อใบรับรอง / การขึ้นทะเบียน
|
ขอบเขต
|
วันที่ได้รับการขึ้นทะเบียน
|
อายุการใช้งาน
|
กรมธุรกิจพลังงาน
|
ผู้ทดสอบและตรวจสอบถังก๊าซหุงต้ม ถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซ ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ ประเภทที่ 1
|
ใช้ในงานการทดสอบและตรวจสอบถังก๊าซหุงต้ม ถังเก็บและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซ ระบบท่อก๊าซ และอุปกรณ์ ประเภทที่ 1
| ||
วิศวกรทดสอบและตรวจสอบสถานที่ใช้ก๊าซธรรมชาติ ประเภทที่ 1
|
ใช้ในงานการทดสอบและตรวจสอบถังก๊าซและจ่ายก๊าซ ถังขนส่งก๊าซ ระบบท่อก๊าซและอุปกรณ์ก๊าซธรรมชาติ
| |||
สภาวิศวกร
|
ได้รับสิทธิประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมประเภทนิติบุคคล
|
ใช้ในงานด้านวิศวกรรมควบคุม
| ||
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
|
เป็นหน่วยรับรองวิศวกรรมด้านหม้อน้ำ หรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน
|
ใช้ในงานตรวจสอบและรับรองหม้อน้ำหรือหม้อต้มที่ใช้ของเหลวเป็นสื่อนำความร้อน
| ||
สำนักงานปรมาณูเพื่อสันติ
|
ได้รับอนุญาตผลิต มีไว้ครอบครอง หรือใช้ซึ่งวัสดุพลอยได้
|
ใช้ในงานการทดสอบชิ้นงานด้วยรังสี และเป็นใบอนุญาตครอบครองสารรังสี (Source)
| ||
ได้รับอนุญาตผลิต มีไว้ครอบครอง หรือใช้ซึ่งวัสดุต้นกำลังซึ่งพ้นสภาพที่เป็นอยู่ตามธรรมชาติในทางเคมี
|
ใช้ในงานการทดสอบชิ้นงานด้วยรังสี และเป็นใบอนุญาตครอบครอง
Depleted Uranium |
บริษัทตรวจสอบในไทยมีระบบการตรวจติดตามใบอนุญาตต่างๆให้มีความต่อเนื่องทั้งหมด 3 หน่วยงาน คือ (1) ผู้ให้บริการ ซึ่งต้องนำใบอนุญาตติดตัวไปเพื่อนำเสนอต่อลูกค้า (2) ฝ่าย Safety มีหน้าที่ควบคุมใบอนุญาตในการตรวจสภาพให้ตรงตามข้อกำหนด และ (3) ฝ่ายบุคคล ที่จะจัดเก็บต้นฉบับใบอนุญาตทั้งหมดและนำมาตรวจสอบอายุของใบอนุญาตเป็นระยะเพื่อนำเสนอให้ผู้บริหารพิจารณาต่ออายุ ซึ่งโดยปกติแล้วจะทำการต่ออายุก่อนที่ใบอนุญาตจะหมดอายุประมาณ 60 วัน
บริษัทฯติดตามกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องและผลกระทบที่อาจเกิดกับบริษัทอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งเตรียมการขึ้นทะเบียนบุคลากรและขึ้นทะเบียนเป็นผู้ตรวจสอบประเภทนิติบุคคลเพื่อให้สามารถให้บริการตรวจสอบรับรองได้อย่างครบวงจร ปัจจุบันบริษัทฯสามารถให้บริการด้านตรวจสอบและรับรองคุณภาพตามที่กฎหมายกำหนดได้ครบทุกประเภท
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น