วันอาทิตย์ที่ 26 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การศึกษางานครั้งที่4

การศึกษางานครั้งที่4















การบ้าน WS 04

ให้เขียน แผนภูมิกระบวนการนี้ใหม่




วันจันทร์ที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2560

การเตรียมโครงงาน ครั้งที่ 3-4

การเตรียมโครงงาน ครั้งที่ 3-4

           

การเตรียมโครงงาน ครั้งที่ 3-4

     ให้โหลดคู่มือตามลิ้งข้างล่าง         

























จงทำงานที่มอบหมายในลิงค์ต่อไปนี้ตามเวลาที่กำหนด


https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSdyByum9b4S6H7f77ur4n07phQuaRtSYk8I8aGs23cNnGo0Kw/viewform?usp=send_form


การศึกษางานครั้งที่ ๓ การวิเคราะห์กระบวนการผลิต


การศึกษางานครั้งที่ ๓ การวิเคราะห์กระบวนการผลิต



 2.5.1 แผนภูมิกระบวนการผลิต (Process Charts)
                แผนภูมิเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลอย่างกะทัดรัด เพื่อความสะดวกในการอ่านแผนภูมิมีลักษณะเป็นเครื่องหมายหรือแผ่นภาพ ซึ่งแยกแยะขั้นตอนของกระบวนการผลิตไว้อย่างชัดเจน การวิเคราะห์โดยใช้แผนภูมิ โดยทั่วไปมักเริ่มต้นด้วยการที่วัตถุดิบเคลื่อนเข้าสู่สายการผลิต และบันทึกขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ บนวัตถุดิบนั้น เช่น การขนส่ง การตรวจสอบ การทำงานบนเครื่องจักร การประกอบชิ้นส่วน จนกระทั่งสำเร็จออกมาเป็นผลิตภัณฑ์ หรือชิ้นส่วนที่ประกอบแล้วแผนภูมิกระบวนการผลิตอาจเป็นการบันทึกขั้นตอนการผลิตของสินค้าชนิดเดียวภายในแผนกหนึ่ง หรือของสินค้าหลายๆ ชนิด ภายในแผนกต่างๆ พร้อมกันก็ได้
                การศึกษาจากแผนภูมิดังกล่าว จะช่วยให้เห็นภาพของขั้นตอนการปฏิบัติได้ชัดเจนยิ่งขึ้นมากกว่าการอ่านคำบรรยายเพียงอย่างเดียว และจะช่วยให้สามารถปรับปรุงวิธีการทำงานได้ง่ายขึ้นอีกด้วย การปรับปรุงส่วนใดส่วนหนึ่งของกระบวนการจะส่งผลปรากฎบนแผนภูมิ ทำให้ทราบถึงผลกระทบที่อาจมีต่อส่วนอื่นๆ ของขั้นตอนการผลิต ยิ่งกว่านั้นเรายังสามารถนำเอาขั้นตอนหนึ่งของแผนภูมิกระบวนการทำการวิเคราะห์ถึงรายละเอียดปลีกย่อยลึกซึ้งลงไปอีก
1) สัญลักษณ์ของแผนภูมิกระบวนการผลิต
                การบันทึกในแผนภูมิจะใช้สัญลักษณ์มาตรฐานเพียง 1 ชุด ซึ่งจะมีอยู่ห้าสัญลักษณ์ ก็สามารถคลุมไปถึงการกระทำหรือเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ปรากฏโดยทั่วไปขณะปฏิบัติงานในโรงงานหรือสำนักงานได้หมด     การวิเคราะห์แผนภูมิส่วนใหญ่จะใช้สัญลักษณ์มาตรฐานที่ใช้กันโดยทั่วไป 5 ตัว คือ
                                        =             การดำเนินงาน (Operation) หมายถึง    การดำเนินงานบนชิ้นงานเกิดขึ้นเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงลักษณะหรือคุณสมบัติของชิ้นงาน
                                        =             การตรวจสอบชิ้นงาน (Inspection) หมายถึง    การตรวจสอบคุณภาพของชิ้นงาน หรือการตรวจดูเพื่อให้แน่ใจในลักษณะของชิ้นงาน
                              =             การขนส่ง (Transportation) หมายถึง    การเคลื่อนย้ายวัตถุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
                                        =             การรอคอย (Delay) หมายถึง    ความล่าช้าของงาน เนื่องจากมีอุปสรรคมาขัดขวางไม่ให้ขั้นตอนการดำเนินงานขั้นต่อไปดำเนินต่อได้
                                       =             การเก็บรักษา (Storage) หมายถึง    การเก็บดูแลชิ้นงานอย่างถาวร ซึ่งการเบิกจ่ายควรมีคำสั่งหรือหนังสือจากผู้เกี่ยวข้อง

ตารางที่ 2.2.1 ตารางสรุปการใช้เครื่องหมายของแผนภูมิกระบวนการ (Process Chart)
สัญลักษณ์
ชื่อเรียก
คำจำกัดความโดยย่อ


การดำเนินงาน (Operation)
1. การเปลี่ยนคุณสมบัติทางเคมีหรือฟิสิกส์ของวัตถุ
2. การประกอบชิ้นส่วนหรือการถอดส่วนประกอบออก
3. การเตรียมวัตถุเพื่องานขั้นต่อไป
4. การวางแผน การคำนวณ การให้คำสั่ง หรือการรับคำสั่ง

การตรวจสอบชิ้นงาน (Inspection)
1. การตรวจสอบคุณลักษณะของวัตถุ
2. ตรวจสอบคุณภาพหรือปริมาณ

การขนส่ง (Transportation)
1. การเคลื่อนที่วัตถุจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง
2. คนงานกำลังเดิน
3. มือกำลังเคลื่อน

การรอคอย
 (Delay)
1. การเก็บวัสดุชั่วคราวระหว่างการดำเนินงาน
2. การคอยเพื่อให้งานขั้นต่อไปเริ่มต้น

การเก็บรักษา (Storage)
1. การเก็บวัสดุไว้ในที่ถาวรซึ่งต้องอาศัยคำสั่งในการเคลื่อนย้าย
2. การถือไว้ในมือ ใช้เฉพาะในการวิเคราะห์การทำงานของมือ


                                สัญลักษณ์ข้างต้นนี้ อาจรวมกันได้ในกรณีที่เกิดขึ้นพร้อมกัน เช่น มีการกลึงพร้อมกัน การตรวจสอบดูความได้ศูนย์ของชิ้นงาน อาจใช้สัญลักษณ์รวมว่า    ก็ได้



2) การใช้แผนภูมิกระบวนการ (Process Chart)
ก)  การเก็บข้อมูลวิธีทำงานแบบเดิม
             จากตัวอย่างที่2.2.1 ในรูปที่ 2.2.2 เป็นการสั่งซื้อเครื่องมือบางอย่างที่ต้องใช้ภายในโรงงาน หัวหน้าคนงานในโรงงาน จะเขียนใบเบิกส่งไปให้ยังพนักงานพิมพ์ดีด เพื่อพิมพ์บนใบขอสั่งซื้อ จากนั้นหัวหน้าแผนกลงนามอนุมัติ แล้วส่งไปให้ยังแผนกจัดซื้อ ซึ่งตัวแทนแผนกจัดซื้อต้องทำการศึกษาเพื่อดูราคาและปริมาณในการสั่งซื้อ จากนั้นจึงจะทำการออกใบสั่งซื้อสินค้าเพื่อสังไปยังสำนักงานใหญ่หรือผู้แทนจำหน่ายต่อไป ขั้นตอนในการขอซื้อเครื่องมือนี้อาจวิเคราะห์ลงบน แผนภูมิกระบวนการ (Process Chart) ได้ ดูรูปที่ 2.2.2    ในการวิเคราะห์อาจสร้างผังการเคลื่อนที่ไว้ดูคู่กันเพื่อความเข้าใจ ดูรูป 2.2.3
ข) การปรับปรุง
                 จากแผนภูมิดังรูปที่ 2.2.2   จะเห็นว่าขั้นตอนการสั่งซื้อเครื่องมือวิธีเก่า มีการเคลื่อนของใบงานมาก และมีการล่าช้า เนื่องจากการคอย ณ จุดต่างๆ ซึ่งเป็นส่วนที่เสียเวลาและไม่จำเป็นอาศัยเทคนิคการตั้งคำถามต่างๆ เราอาจพบว่ามีขั้นตอนการดำเนินงานต่างๆ ซึ่งอาจขจัดออกและเปลี่ยนตัวบุคคลที่ทำงานนั้นได้ เช่น
-          ทำไมต้องพิมพ์ใบขอสั่งซื้อ จะใช้แบบฟอร์มมาตรฐานซึ่งเขียน หรือกรอกเฉพาะข้อความได้หรือไม่
-          ทำไมต้องให้หัวหน้าแผนกเซ็นชื่ออนุมัติ ส่งให้ผู้แทนจัดซื้ออนุมัติจะได้หรือไม่
-          ทำไมต้องพิมพ์ใบสั่งซื้อ ใบสั่งซื้อจะใช้เป็นแบบฟอร์มมาตรฐานได้หรือไม่ซึ่งสามารถกรอกรายละเอียดจากผู้ขอซื้อเครื่องมือนั้นๆ โดยตรง

                จากรายละเอียดเหล่านี้ เราสามารถนำไปสู่การปรับปรุงขั้นตอนของการขอซื้อเครื่องมือวิธีใหม่ได้ ดังรูป 2.2.4 และ 2.2.5 ซึ่งจะเห็นว่าลดขั้นตอนต่างๆ ลงถึง 11 ขั้นตอน และลดระยะในการเคลื่อนของใบสั่งซื้อลงถึง 30 ฟุต


การบ้าน WS 03 ทำในลิงค์ข้างล่าง

https://docs.google.com/forms/d/e/1FAIpQLSfA7pHF-arosao7qRmJxVfMccePQ2S8lzVy9Z0X8FjcxG4rwA/viewform?c=0&w=1


เลือกศึกษาคลิปใดคลิปหนึ่งข้างล่างแทนคลิปข้อ ๑ ในลิงค์(การผลิตคีม)ได้